วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ทำไมวัยรุ่นไทยถึงติดอินเตอร์เน็ต






แก้ปัญหา -รู้ปัญหา โรคอินเตอร์เน็ต โรคติดอินเทอร์เน็ต เด็กติดอินเตอร์เน็ต
ทุกวันนี้แบบทดสอบอาการเสพติดการใช้งานอินเตอร์เน็ต

หรือ เสพติดโลกออนไลน์ นั้นมีแพร่หลายพอสมควร เท่าที่สำรวจตรวจสอบข้อมูลมา พอสรุปอาการเบื้องต้นได้ 10 ข้อ ด้วยกัน
1. หยุดเล่นอินเตอร์เน็ตไม่ได้

ในกรณีนี้จะถือว่าอาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น ถ้าเกิดเคยสัญญากับตัวเอง หรือ บุคคลอื่นว่าจะลดเวลาการออนไลน์ แต่ผลสุดท้ายก็ทำไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้
2. เริ่มโกหก

โกหกบุคคลรอบข้างว่าไม่ได้เล่นอินเตอร์เน็ต แต่จริงๆ แล้วพยายามทุกวิถีทางเพื่อหาโอกาสออนไลน์
3. สถานการณ์เริ่มเลวร้าย แต่ยังไม่รู้ตัว

เมื่อเสียเวลาอยู่ในโลกออนไลน์มากๆ เข้า ก็จะทำให้ไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
4. มีพฤติกรรมผิดศีลธรรม

เวลาเข้าไปอยู่ในโลกออนไลน์ เริ่มกลายเป็นคนชอบโกหกหลอกลวง กล้าทำกล้าพูดในสิ่งผิดศีลธรรม เพราะรู้ว่าสามารถปกปิดสถานะที่แท้จริงของตัวเองได้
5. ไม่รู้เวลา

นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อเล่นอินเตอร์เน็ตโดยไม่รู้เวลา จัดลำดับความสำคัญของการงาน หรือ การเรียนไม่ได้
6. ติดเน็ต-เหมือนติดยา

เวลาออนไลน์แล้วรู้สึกขัดแย้งในตัวเอง เช่น รู้ว่าการเล่นอินเตอร์เน็ตมากๆ เป็นสิ่งไม่ดี แต่ห้ามตัวเองไม่ได้ เพราะเสพติดไปแล้ว
7. ชีวิตขาด"เน็ต"ไม่ได้

แสดงปฏิกิริยาต่อต้านทันที เมื่อถูกบีบบังคับ หรือ จำเป็นต้องลดเวลาการออนไลน์
8. คิดอะไรไม่ออก

ขณะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับประทานอาหาร ทำงาน อ่านตำรา ฯลฯ จะห้ามใจไม่ให้คิดถึงการเล่นอินเตอร์เน็ตไม่ได้
9. แยกตัว

เกิดอาการแยกตัวจากสังคม ไม่กล้าเผชิญหน้ากับชีวิตจริง โดยเข้าไปหลบตัวอยู่ในโลกของอินเตอร์เน็ตแทน
10. สิ้นเปลืองเงิน

สิ้นเปลืองเงินทองไปกับการอัพเกรดคอมพิวเตอร์ การอยู่ในโลกออนไลน์ หรือ ใช้จ่ายเงินหมดไปกับเวลาค่าใช้อินเตอร์เน็ตโดยไม่จำเป็น เหล่านี้เป็นแบบทดสอบเบื้องต้นเพื่อจะดูว่ามีอาการเสพติดอินเตอร์เน็ตหรือ ไม่

 
-----
โรคติดอินเตอร์เน็ต

             อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายและ เจริญเติบโตอย่างทวีคุณมันกำลังจะทำให้ เกิดโรคใหม่ชนิดหนึ่ง ซึ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว คือ "โรคติดอินเทอร์เน็ต"

             IAD = Internet Addiction Disease เมื่อเดือนธันวาคม ปี 1996 เป็นครั้งแรก ที่สื่อมวลชนเริ่มประโคมข่าวโรคติดอินเทอร์เน็ต โดยเกิดกลุ่มอาการทางจิตหลายอย่าง
             เนื่องมาจากการใช้เน็ตมากเกินไป เช่น ซึมเศร้า แยกตัวเอง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม โรคติดอินเทอร์เน็ตนั้นก็คล้าย ๆ กับการติดสิ่งเสพติดต่างที่สร้างปัญหาให้เกิดกับอารมณ์ ร่างกาย สังคม ทำไมคนถึงติดอินเทอร์เน็ตได้?? เมื่อพิจารณาถึงธรรมชาติของอินเทอร์เน็ต จะพบว่าผู้ใช้เกิดความผูกพันกับเพื่อน On-line หรือกิจกรรมต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต การใช้บริการทำให้เขาสามารถสร้างสังคมใหม่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นในลักษณะที่ มีปฎิสัมพันธ์ได้เหมือนสังคมจริง (virtual - Community) นี้ เปิดโอกาสให้เขาได้หลีกหนี ความเป็นจริง ค้นพบวิธีที่จะเติมความต้องการ ทางอารมณ์ หรือ ทางจิตวิทยาที่หายไปได้ ในอินเทอร์เน็ตเขาสามารถปิดบังชื่อ อายุ อาชีพ เพศ รูปร่าง ลักษณะภายนอกได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้เน็ตที่มีความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว ไม่มั่งคงผิดหวังหรือเจ็บปวดจากการใช้ชีวิตจริง จึงมาพบทางออกที่ปลดปล่อยความปรารถนา โลกแห่งความฝันเฟื่องที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และทำให้จมดิ่มลงไปติดอินเทอร์เน็ต อย่างรวดเร็วและรุนแรง

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากโรคติดอินเทอร์เน็ตแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ คือ

             1. Cybersexual Addiction การติด Adult Chat Room ผู้เป็นโรคติด อินเทอร์เน็ต หนึ่งในห้า จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเพศ on-line เช่นการดู Cyberporn หรือ เข้าร่วมใน Cybersex คนในกลุ่มนี้จะไม่มีความมั่นใจในตัวเอง Body Image ที่ผิดปกติ ความวิปริตทางเพศไม่ได้รับการรักษา หรือพวกที่หมกมุ่นทางเพศมาก ในกลุ่มเปล่านี้จะเกิดอาการเสพติด Cybersex ได้ง่ายมาก นอกจากนี้ Cybersex เป็นทางออกที่ปลอดภัย ค่าใช้จ่ายถูก และปราศจากโรคติดเชื้อ

             2. Cyber-Relationship Addiction คือการคบเพื่อนจาก Chat Room, Newsgroup นำมาทดแทนเพื่อนหรือครอบครัวในชีวิตจริง ตลอดจนถึงการพัฒนาไปสู่ภาวะชู้สาวที่เกิดขึ้น ทางอินเทอร์เน็ต

             3. Net Complusion คือภาวะการติดการพนัน การประมูลสินค้าการเสื้อขายทางเน็ต

             4. Information Overload ภาวะที่ทำการค้นหาข้อมูล และ Web Surfing ได้อย่างมากมายและไม่สามารถยับยั้งได้

             5. Computer Addition การใช้คอมพิวเตอร์ หรือการเล่นเกมทางคอมฯ ในลักษณะที่ไม่สามารถยับยั้งใจได้

อาการเตือนของการเริ่มติดอินเทอร์เน็ต สรุปได้ดังนี้

             1. มีความรู้สึกผูกพันกับเน็ตมาก เช่น คิดถึงแต่กิจกรรมทางเน็ตที่ผ่านมา ตั้งหน้ารอคอยการ on-line ครั้งต่อไป

             2. มีความรู้สึกจำเป็นต้องใช้เน็ตในประมาณเวลาที่มากขึ้น เพื่อให้บรรลุความพอใจของตน

             3. ประสบความล้มเหลวในการพยายามควบคุมลดหรือหยุดการใช้เน็ต

             4. หงุดหงิด ซึมเศร้า โกรธง่าย เมื่อพยายามลดหรือหยุดใช้เน็ต

             5. มักจะ on-line นานมากกว่าความตั้งใจเดิม

             6. สูญเสียด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว บุคคลอื่น ๆ การงาน การเรียนหรืออาชีพ

             7. ใช้อินเทอร์เน็ตหลีกหนีปัญหาหรือความคับข้องใจ เช่น ความรู้สึกผิด ท้อแท้ ความวิตก

ปัญหาที่สำคัญในการรักษาโรคติดเน็ต ก็คือ

             การปฏิเสธว่าตัวเองไม่ติดเน็ตการรักษาแบบง่าย ๆ ก็คือ การดึงปลั๊กออก ตัดสายโมเด็ม หรือโยนเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไป ความสำคัญของวิธีการรักษาก็อยู่ที่การหาความสมดุลย์
ระหว่างการใช้เน็ตกับกิจวัตรประจำวัน อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มหาศาล ถ้านำมาใช้ให้ถูกวิธีและพยายามปรับปรุงจากการเรียนรู้ใหม่ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ หรือเพื่อทำให้หายป่วยเร็วขึ้น




          จัดทำโดย

นางสาวเจนจิรา  โคกลือชา   ม.5/6  เลขที่  14
นางสาวรัชนีกร  หาเรือนบุญ  ม.5/6  เลขที่  17

วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ปัญหาการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น

ปัญหาการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ การเปลี่ยนแปลงระหว่างวัยถือเป็นช่วงสำคัญที่สุดเนื่องจากอนาคตของวัยรุ่นจะเป็นอย่างไร จะเริ่มจากสิ่งที่เขาได้รับในวัยนี้ สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวมีอิทธิพลมาก เพราะจะทำให้พวกเขาซึมซับในสิ่งที่สังคมนั้นๆ กระทำ หากสังคมที่เขาอยู่เป็นสังคมที่ดีถือเป็นโชคดีของพวกเขา แต่ถ้าอยู่ในสังคมที่ไม่ดีเขาก็จะได้รับและซึมซับพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นไปด้วย 
สาเหตุการทะเลาะวิวาทวัยรุ่น
เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน  การเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น  มีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น
ผลกระทบต่อสังคม
การทะเลาะวิวาทของวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่สะท้อนสภาพการณ์ให้เห็นว่าสภาพสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัฒน์ ความคิด ความเชื่อและค่านิยมของเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปจากสภาพสังคม แบบไทยๆที่มีต้นแบบของผู้ใหญ่ ซึ่งมีลักษณะของการเอื้ออาทร มีความเมตตากรุณาต่อกันแต่มาถึงปัจจุบัน ต้นแบบของสังคมที่ดี โดยผู้ใหญ่บางคนประพฤติ ปฎิบัติตนไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการแสดงออกซึ่งความรุนแรงหรือตัวอย่างที่เยวาวชนได้รับจากสื่อต่างๆ
                                               นายธนชาติ ปุญญาภินันท์ ม5/6 เลขที่8
นายสุดเขต ชารีพันธ์ ม5/6 เลขที่30

ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษา

ปัญหาการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น
วัยรุ่นเป็นวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ การเปลี่ยนแปลงระหว่างวัยถือเป็นช่วงสำคัญที่สุดเนื่องจากอนาคตของวัยรุ่นจะเป็นอย่างไร จะเริ่มจากสิ่งที่เขาได้รับในวัยนี้ สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวมีอิทธิพลมาก เพราะจะทำให้พวกเขาซึมซับในสิ่งที่สังคมนั้นๆ กระทำ หากสังคมที่เขาอยู่เป็นสังคมที่ดีถือเป็นโชคดีของพวกเขา แต่ถ้าอยู่ในสังคมที่ไม่ดีเขาก็จะได้รับและซึมซับพฤติกรรมที่ไม่ดีนั้นไปด้วย 
ปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวันซึ่งบ้างก็มีทั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และไม่เป็นข่าว ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาทางหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด เพื่อลดและป้องกันทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น ปัญหานี้ได้สร้างความเสียหายทั้งกับตัวนักศึกษาเองและชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย ปัจจุบันนี้ นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามีการประกาศสงครามกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีการเขียนคำท้าทาย หรือประกาศว่าจะยึดสัญลักษณ์ เช่น หัวเข็มขัด ของสถาบันฝ่ายตรงข้ามให้ได้ รวมถึงใช้ถ้อยคำยั่วยุรุนแรงว่าจะ “เด็ดหัว” นักศึกษาสถาบันคู่อริ ซึ่งในช่วงที่ใกล้วันสถาปนาของแต่ละสถาบันการทำสงครามทางอินเตอร์เน็ตยิ่งรุนแรง และน่าเป็นห่วง  ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแค่กลุ่มวัยรุ่นเท่านั้นยังเข้าไปถึงการทะเลาะวิวาทกันข้ามสถาบันอีกด้วย   การทะเลาะวิวาท ปะทะ ต่อสู้ เพื่อ "ศักดิ์ศรีสถาบัน" ของ "นักศึกษาอาชีวะ" ได้กลายเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ที่ยากจะแก้ไข แต่ก็จำเป็นต้องแก้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนอกจากจะสร้างความอกสั่นขวัญผวาให้แก่สังคม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียและทำลายความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็น "เสาหลัก" ของการผลิตทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย  เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน   เมื่อถามถึงต้นแบบของความรุนแรง ที่วัยรุ่นมักนิยมทำตามนั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะพอชี้ให้เห็นได้ว่ามาจากที่ใด เรื่องราวที่กล่าวมาในบางเป็นเรื่องก็เป็นเรื่องที่ วัยรุ่นมักนำมาเป็นข้ออ้างในการแสดงพฤติกรรมในทางลบ เพื่อให้ตนได้ทำในสิ่งที่เห็นมาจากต้นแบบ ซึ่งล้วนเป็นต้นแบบชั้นเลว ที่สามารถพบเห็นได้อย่างแพร่หลาย เช่น การทำลายข้าวของตามภาพยนตร์ที่ตนเคยดูมา การใช้ยาเสพติดตามอย่างพระเอกในโทรทัศน์บางเรื่องที่พ่อแม่แยกทางกัน หรือการทำร้ายตัวเองเหมือนมิวสิควีดีโอ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นดูจะเป็นสิ่งที่น่ากลัว เพราะสื่อในปัจจุบันมีความแพร่หลายเป็นอย่างมากทำให้การรับรู้เรื่องราวเหล่านี้ทำได้ไม่ยาก การที่วัยรุ่นไม่สามารถแยกแยะความเป็นจริงกับจินตนาการได้นั้นอาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อตัววัยรุ่นเองและอาจลุกลามเป็นปัญหาของสังคมได้ เพราะหากวัยรุ่นนำจินตนาการเหล่านั้นมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตจริงคงจะไม่ต้องพูดก็ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น การตั้งกลุ่มก่อกวนสังคมเพื่อให้ทุกคนรู้จักเหมือนในละครโทรทัศน์ เสพยาเสพติดเพื่อให้ครอบครัวที่แตกแยกกลับมาคืนดีเหมือนเดิม ดูจะเป็นเรื่องที่เสี่ยงจนเกินไปกับการเดินตามจินตนาการเหล่านั้น เพราะฉากจบในชีวิตจริงอาจไม่สดใสเหมือนละคร ปัญหาเรื่องความเครียดในวัยรุ่นจะหมดไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับตัวของเขาเหล่านั้นเอง หาใช่จะรอให้คนอื่นเข้ามาช่วยแก้ไขหรือมัวแต่ทำร้ายตัวเองเพื่อให้คนรอบข้างสนใจ จึงอยากให้วัยรุ่นทั้งหลายลองมองที่ตนเองดูก่อนว่าความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นแท้จริงเป็นเพราะใคร ใช่ตนหรือเปล่าที่เป็นคนสร้างปัญหาต่างๆขึ้นมารุมเร้าตัวเอง อย่ามัวแต่คิดที่จะเฝ้าโทษแต่คนอื่นหรือสิ่งรอบตัวโดยที่ตนไม่คิดจะแก้ไขด้วยตนเองคงจะน่าเศร้าใจไม่น้อย หากวัยรุ่นในปัจจุบันขาดสติและปัญญาในการแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต แต่คิดที่ใช้กำลังหรือมัวเมากับสิ่งเลวทรามต่างๆที่มีอยู่เพียงเพื่อให้ลืมเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น       หากจะพิจารณาในเรื่องที่วัยรุ่นแสดงออกเมื่อเกิดความเครียดน่าจะเป็นอีกเรื่องที่ควรจะกล่าวถึง เพราะ วัยรุ่นในปัจจุบันมักแสดงออกในเรื่องของความรุนแรงหรือ มักแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรงและยาเสพติดมากกว่าใช้สติ จะเห็นได้จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ทั่วไปที่มักลงข่าววัยรุ่นใช้กำลังในการตัดสินปัญหาต่างๆหรือการเสพยาเสพติดและผลที่ตามมาคือ วัยรุ่นเหล่านั้นมักจะก่อความวุ่นวายหรือปัญหาต่างๆมากมายให้กับสังคมและผู้คนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาอาชญากรรมที่นับวันจะมีสาเหตุมาจากวัยรุ่นเป็นผู้ก่อเรื่องมากขึ้นทุกวัน การแพร่กระจายของยาเสพติดที่ระบาดหนักในวัยรุ่นจนกลายเป็นปัญหาระดับชาติในปัจจุบัน   สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นเสมือนกระจกสะท้อนภาพความตกต่ำทางความคิดของวัยรุ่นในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี 
การใช้ความรุนแรงจึงกลายเป็นทางออกที่ได้รับความนิยมสำหรับวัยรุ่น เพราะทำให้สะใจและเห็นผลได้เร็ว โดยทั่วไปแล้วการใช้ความรุนแรงเป็นทางออกของคนป่าเถื่อน ด้อยการศึกษาซึ่งทุกคนก็เห็นด้วยและมักจะพูดกันบ่อยๆ ว่า คนที่มีการศึกษาจะใช้ความคิดมากกว่ากำลัง ตัวอย่างที่ยกมาก็เป็นคนที่อยู่ในช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ ทำให้กลุ่มวัยรุ่นที่เป็นคนในวัยดังกล่าวกลับไปสู่การกระทำของคนที่ไร้ความอดทนและการยับยั้งชั่งใจ  ปัญหานี้จึงไม่ใช่แค่การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของกลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น แต่เพราะการขาดความรักความเอาใจใส่จากครอบครัว เนื่องจากพ่อแม่ไม่มีเวลาอบรม สั่งสอนลูกๆเพราะต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อหาเงินมาให้เพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละเดือน วัยรุ่นจึงหันไปพึ่งยาเสพติด  เพราะหลงเชื่อว่าเป็นทางออกที่ดีที่ทำให้ลืมความทุกข์ซึ่งตนและครอบครัวประสบอยู่และส่งผลทำให้ไม่สามารถควบคุมสติจนบางครั้งเกิดการทะเลาะวิวาท
นอกจากจะเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัย และนักศึกษาอาชีวะในการเสนอความคิดเห็น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเป็นภาพสะท้อนที่เป็นรูปธรรมของ "ต้นตอสำคัญของปัญหา" ซึ่งได้แก่ ความคิดที่ว่าการทะเลาะวิวาทเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีระหว่างสถาบันเป็นการแสดงออกถึงความเป็นที่ 1 และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมา ซึ่งความคิดดังกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึง ทั้ง "ปัจจัยภายใน" และ "ปัจจัยภายนอก" [1] อันเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าว
"ปัจจัยภายใน" หรือด้านจิตวิทยาของวัยรุ่นนั้น เป็นการสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแรงขับเคลื่อนภายใน หรือความต้องการของวัยรุ่นซึ่งแตกต่างจากวัยอื่นๆ เช่น ความต้องการอิสระ ความเป็นตัวของตนเอง การเป็นที่ยอมรับ มีความสนใจกิจกรรมที่ทำเป็นกลุ่ม การมีประสบการณ์แปลกใหม่ และท้าทาย ฯลฯ ซึ่งความต้องการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผลักดันให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของวัยรุ่น  ส่วน "ปัจจัยภายนอก" หรือด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดพฤติกรรมการเรียนรู้ของบุคคล ซึ่งประกอบด้วย ครอบครัว เพื่อน ชั้นสังคม และวัฒนธรรมกลุ่มย่อย อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากที่สุดคงหนีไม่พ้น เพื่อน เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดค่านิยมในการแสดงออก (Expressive values) ทัศนคติ (Attitudes) และพฤติกรรมที่ของกลุ่มวัยรุ่นอย่างมาก เนื่องจากวัยรุ่นต้องการความเป็นที่ยอมรับ เป็นผู้นำ และเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อน
สาเหตุการทะเลาะวิวาทวัยรุ่น
เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน  การเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่น  มีผู้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นอาทิ เช่น
ทิวา วงศ์ธนาภา (2539) ได้กล่าวถึงเงื่อนไขของการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายดังนี้คือ
1) เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน
2) เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ
3) เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น
4) เกิดจากเทศกาล       
5) เกิดจากประเพณีและพิธีกรรม เช่น เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น  
6) เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี
ทั้ง 6 ประเด็นเมื่อเกิดขึ้นแล้วส่วนใหญ่ก็จะจางไป แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทดำรงอย่างต่อเนื่องคือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันกลุ่มหรือเครือข่าย เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น
สุภาพันธ์  รื่นสำราญ (2525) ได้ศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุในการก่อเหตุทะเลาะวิวาทและแสวงหามาตรการในการป้องกันและแก้ไขการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ตลอดจนแนวทางพัฒนาจิตใจ พบว่า สาเหตุจากความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ  ในด้านการป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทนั้น ต้องสร้างความรักความเข้าใจในครอบครัว ส่งเสริมให้เกิดการขัดเกลาทางสังคมที่ดี บิดา-มารดาต้องปฏิบัติตัวเป็นตัวอย่างที่ดี เป็นตัวแบบให้กับวัยรุ่นเกี่ยวกับ การทำงานและการเข้าสังคม เป็นต้น
เตือนใจ ชาลี (2539) ให้คำอธิบายปรากฏการณ์ของการทะเลาะวิวาทโดยพิจารณากระบวนการทางสังคมที่เป็นเงื่อนไขต่อการเกิดขึ้น และดำรงอยู่ของปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาท กระบวนการในการสร้างโลกทัศน์ การให้เหตุผลและความหมายของการกระทำของนักเรียนอาชีวะ เป็นการศึกษาในแนวสังคมวิทยา ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจในบริบททางสังคม วัฒนธรรม ที่ก่อให้เกิดรูปการจิตสำนึกแบบนักเรียนอาชีวะ คำอธิบายดังกล่าว เห็นว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทไม่ใช่ในปัญหาในระดับปัจเจกเท่านั้น แต่เป็นความรู้สึกนึกคิดในเชิงสถาบัน ซึ่งมีกระบวนการสร้างหรือหล่อหลอมจนถึงขั้นครอบงำ เป็นกระบวนการเรียนรู้จากการปติสังสรรค์ในสังคมอาชีวะ ที่ได้สร้างอัตตะหรืออัตตลักษณ์ของตนเอง มีกลุ่มอ้างอิงที่เป็นตัวกำหนดมาตรฐาน ของความถูกต้อง ความใช้ได้ คือ ระบบรุ่นพี่รุ่นน้องที่มีพัฒนาการมายาวนาน ในโลกของอาชีวะ
นอกจากนี้มีการศึกษาสาเหตุและเบื้องหลังของสาเหตุในการทำให้เกิดปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนอาชีวะแล้ว ยังมีงานที่ได้ศึกษาถึงมาตรการต่างๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู และสะท้อนความคิดในการวิเคราะห์เหตุปัจจัย ของการทะเลาะวิวาทด้วย การศึกษาที่มีอยู่ เป็นการดูว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นผู้ที่ปฏิบัติงาน นักศึกษา มีทัศนะต่อการวิเคราะห์สาเหตุ และต่อมาตรการอย่างไร เหมือน หรือ ต่างกันหรือไม่ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบว่า ครู อาจารย์ สารวัตรนักเรียน นักศึกษา และตำรวจ มีความเห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีความสำคัญตามลำดับคือ
1) การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร
2) การประสานงานและความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3) ความพร้อมในการปฏิบัติงานของหน่วยงานสถานศึกษาในด้านบุคคลากรและอุปกรณ์ประกอบการทำงาน
4) บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ และ
5) มาตรการที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
วัชรพันธ์  ประดิษฐ์พงษ์ (2544) ศึกษาการก่อเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายของนักเรียนในเขตพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 7 พบว่า นักเรียนที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายส่วนใหญ่อายุ 15 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมากที่สุด บิดามาดามีอาชีพค้าขายทำให้เด็กมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 2,000 – 4,000 บาท/เดือน ในระบบครอบครัวพบว่า บิดา-มาดารักลูกไม่เท่ากัน กลุ่มเพื่อนสนิทที่ร่วมกระทำการจะมีฐานะทางครอบครัวที่ใกล้เคียงกัน มีเพื่อนเป็นที่ปรึกษาหลักเมื่อมีปัญหา สาเหตุการก่อเหตุทะเลาะวิวาทส่วนใหญ่เนื่องจากความขัดแย้งต่อเนื่องของคู่อริ การใช้เวลาว่างไม่ถูกวิธี และการคบหาเพื่อนที่เคยก่อเหตุทะเลาะวิวาทมาก่อน 
นอกจากนี้มีการศึกษาสาเหตุและเบื้องหลังของสาเหตุในการทำให้เกิดปรากฏการณ์การทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนอาชีวะแล้ว ยังมีงานที่ได้ศึกษาถึงมาตรการต่างๆ ที่ผู้เกี่ยวข้องได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้แก้ปัญหาทั้งมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟู และสะท้อนความคิดในการวิเคราะห์เหตุปัจจัย ของการทะเลาะวิวาทด้วย การศึกษาที่มีอยู่ เป็นการดูว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เป็นผู้ที่ปฏิบัติงาน นักศึกษา มีทัศนะต่อการวิเคราะห์สาเหตุ และต่อมาตรการอย่างไร เหมือน หรือ ต่างกันหรือไม่ สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาก่อเหตุทะเลาะวิวาท พบว่า ครู อาจารย์ สารวัตรนักเรียน นักศึกษา และตำรวจ มีความเห็นว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีความสำคัญตามลำดับคือ
1. เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2. เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน
3. เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ
4. เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น  กิจกรรมการรับน้อง ค่านิยม ประเพณี พิธีกรรม ระบบสัญลักษณ์ รวมทั้งกระบวนการสังสรรค์ของบุคคลในสังคม ทำให้เกิดแบบแผนพฤติกรรมความรุนแรง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญต่อการเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท คือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน การให้ความหมายและการตีความ และความรู้สึกแห่งศักดิ์ศรีโดยวัฒนธรรมความรุนแรงของสังคมเหล่านี้ ทำให้บุคคลเกิดโลกทัศน์และกระบวนการให้เหตุผลต่อพฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ในลักษณะที่เป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมนักเรียนอาชีวะ และมีความสมเหตุสมผลตามกลุ่มอ้างอิง จึงมีพฤติกรรมการก่อเหตุทะเลาะวิวาทมาโดยต่อเนื่อง 
5.  เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี ความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ
6.  เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ ใจร้อน และขาดสติ เป็นความแค้นส่วนตัว ไม่ชอบหน้ากัน และไม่ถูกกัน เกิดจากการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จากเรื่องชู้สาว และมาพัวพันกับเพื่อนผู้หญิงในสถาบัน  เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น
7. ปัญหาที่มาจากครอบครัวซึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้วัยรุ่นเครียด ปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อนก็จริง แต่การจะเฝ้าโทษคนในครอบครัวว่าสร้างปัญหามาให้ตนแบกรับแล้วตนก็ทำตัวให้เป็นปัญหาตามไปด้วย เช่นปัญหาในครอบครัวที่พ่อแม่แยกทางกันที่มักจะพบเห็นได้ง่าย วัยรุ่นที่ครอบครัวแตกแยกมักทำตนให้เป็นที่สนใจซึ่งส่วนใหญ่จะหนีไม่พ้นเรื่องของยาเสพติดหรือการเป็นอันธพาล ทั้งที่ในความเป็นจริงการกระทำเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะทำให้ครอบครัวกลับมาสมบูรณ์ได้และก็ไม่เห็นว่าจะใช่ทางออกที่ควรเท่าไร การทำตนให้เหมาะสมกับหน้าที่ที่ควรทำไม่สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นคงจะเป็นเรื่องที่ควรทำมากกว่าในการช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้น
8. สาเหตุอีกเรื่องที่มักสร้างความเครียดให้วัยรุ่นเป็นอย่างมากคงหนีไม่พ้นเรื่องเพื่อน ซึ่งไม่สามรถปฏิเสธได้ว่าในวัยดังกล่าวเพื่อนมีอิทธิพลมากกับชีวิตวัยรุ่นไม่ว่าจะในยุคสมัยใด การทุ่มเทให้ความสำคัญกับเพื่อนมากเกินไปจนบางครั้งตนขาดความเป็นตัวของตัวเองไปจนมีความคิดที่ว่าหากไม่มีเพื่อนตนก็ไม่สามารถทำอะไรต่างๆด้วยตัวเองได้ อย่างในกรณีที่วัยรุ่นทะเลาะกับเพื่อนจนเกิดความน้อยใจและตัดสินปัญหาโดยการทำร้ายตัวเองเพื่อให้เพื่อนกลับมาสนใจตน  ความรักและบูชาเพื่อนอย่างขาดสติของวัยรุ่นในบางครั้งก็ก่อให้เกิดปัญหาต่อสังคมได้เช่นกันที่เห็นกันมากก็คงจะไม่พ้นเรื่องการยกพวกทะเลาะวิวาทกัน ซึ่งในบางกรณีก็อาจเกิดจากการต้องการให้เพื่อนยอมรับในตนเอง จึงต้องแสดงออกในเรื่องของการใช้กำลังเพราะคิดว่าเป็นวิธีที่เพื่อนจะยอมรับตนได้ง่ายที่สุด
แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทดำรงอย่างต่อเนื่องคือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันกลุ่มหรือเครือข่าย เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น 
ผู้จัดทำ 1.นายธนชาติ ปุญญาภินันท์ เลขที่8  2. นาย สุดเขต ชารีพันธ์ เลขที่30
           

วัยรุ่นไทยสมัยใหม่ทำไมชอบสูบบุหรี่

เหตุที่เด็กวัยรุ่นไทยสมัยใหม่สูบบุหรี่

สาเหตุ

การเสพสิ่งเสพติด โดยเฉพาะบุหรี่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน การสูบบุหรี่นั้นพบว่าเด็กวัยรุ่นทั้งเพศหญิงและเพศชายสูบบุหรี่ทั้งสองเพศ แต่เด็กวัยรุ่นชายมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่สูงกว่าเด็กวัยรุ่นหญิง จากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2534-2552 พบว่าผู้หญิงที่เป็นวัยรุ่นสูบบุหรี่มากกว่าทั่วไป คือ หญิงวัยรุ่นสูบบุหรี่ร้อยละ 3.8 ในขณะที่หญิงทั่วไปสูบบุหรี่เฉลี่ยร้อยละ 2.01 ดังนั้นจึงเป็นที่มาของธุรกิจยาสูบที่หันมามุ่งเน้นตลาดวัยรุ่นเยาวชนหญิง จากการสำรวจล่าสุด ของสำนังงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เด็กไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่เกือบ 5 แสนคน และเยาวชนอายุ 18-24 ปี ติดบุหรี่กว่า 1 ล้านห้าแสนคน 








     
วัยรุ่นติดบุหรี่ด้วยสาเหตุต่างๆ หลายอย่าง ส่วนใหญ่เพราะความอยากลอง และค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง ยึดติดกลุ่มเพื่อน เยาวชนที่เริ่มสูบบุหรี่เพราะความอยากลอง ซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยรุ่นที่อยากลองเป็นเรื่องที่ท้าทาย น่าตื่นเต้น และสนุกสนาน ถึงแม้จะทราบว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ตามอย่างเพื่อน เยาวชนที่เริ่มสูบบุหรี่เพราะเพื่อนชวน บางคนมีเจตคติที่ว่า ถ้าไม่สูบบุหรี่จะเข้ากับเพื่อไม่ได้ เพื่อนจะไม่ยอมรับเข้ากลุ่ม บางคนสูบบุหรี่โดยเข้าใจว่าจะทำให้เข้าสังคมกับเพื่อนๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างน้อยก็ไม่เขิน และหลายคนไม่กล้าเลิกสูบบุหรี่ เพราะกลัวเพื่อนจะล้อเลียน มีงานวิจัยพบว่า กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลอย่างมากในการสูบบุหรี่ ปัจจัยต่อมาคือ สภาพแวดล้อมโดยเฉพาะคนในครอบครัวสูบบุหรี่ จะเป็นสิ่งที่ทำให้วัยรุ่นผู้นั้นมีโอกาสสูบบุหรี่ได้มาก งานวิจัยพบว่า ถ้าบิดามารดาสูบบุหรี่ จะทำให้ลูกมีแนวโน้มในการสูบบุหรี่สูงถึง 3 เท่า ความสัมพันธ์และสัมพันธภาพภายในครอบครัวก็ส่งผลให้วัยรุ่นสูบบุหรี่ได้ ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น มีปัญหาสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า เครียดง่าย (โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหญิง) บางคนก็สูบบุหรี่เพื่อระบายความเครียด จากปัญหาที่บ้านหรือที่โรงเรียน หรือเรื่องแฟน มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ขาดทักษะด้านการเรียน ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ สวยวัยรุ่นจะเข้าใจว่าการสูบบุหรี่จะทำให้สามารถลด 
น้ำหนักลงได้ง่ายขึ้น เพราะทั้งมือและปากไม่ว่างที่จะทานอาหารได้ มีบุคลิกภาพแบบต่อต้าน มีหลายครอบครัวที่ไม่พบว่ามีใครในบ้านสูบบุหรี่เลย แต่มีเฉพาะลูกคนที่เป็นวัยรุ่นสูบ เพราะวัยรุ่นหลายรายเลือกการสูบบุหรี่เป็นการแสดงออกเพื่อต่อต้านพ่อแม่ เมื่อต้องการแสดงให้พ่อแม่เห็นว่าตนเองโตแล้ว และไม่ต้องการให้พ่อแม่มาบีบบังคับเขา เขาโตพอที่จะเลือกตัดสินใจทำอะไรๆ กับตัวเขาเอาแล้ว บางคนก็รู้สึกว่าการสูบบุหรี่ทำให้ดูเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ไม่เป็นเด็กเหมือนกัน และปัจจัยสุดท้ายคือ กระแสของสื่อโฆษณา ในปัจจุบันเยาวชนสามารถรับรู้สื่อโฆษณาบุหรี่ของต่างประเทศได้ทั้งทางหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ชนิดต่างๆ ทาง วิทยุและโทรทัศน์ นอกจากนี้กลยุทธ์ในการโฆษณาแฝงของอุตสาหกรรมบุหรี่ที่หลีกเลี่ยงกฎหมายก็มีมาก คือ การจดทะเบียน การค้าโดยใช้สัญลักษณ์ตราบุหรี่เป็นสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า เครื่องหนัง เครื่องเรือน ของใช้ต่างๆ และบริษัทท่องเที่ยวการสนับสนุนต่างๆ ที่เน้นกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น การจัดแสดงดนตรี การจัดแข่งรถในวัยรุ่น การแสดงแบบเสื้อในกลุ่มสตรี และการแจกสมุดหรือหนังสือที่มีตราบุหรี่ให้แก่เด็กเล็ก อีกทั้งยังมีการโฆษณาแฝงทางภาพยนต์ โดยให้ดาราที่เป็นที่ชื่นชอบสูบบุหรี่ และให้เห็นสัญลักษณ์ของบุหรี่นั้นด้วย การโฆษณาทุกรูปแบบจะเน้นที่ความโก้เก๋ ทันสมัย และเร้าใจ เซ็กซี่ ดึงดูดใจ ซึ่งส่งผลอย่างมากในการส่งเสริมให้สูบบุหรี่


         ผลกระทบ

         ปัจจุบันพบว่าบุหรี่มีอิทธิพลมากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จะเห็นได้จากวัยรุ่นในปัจจุบันนี้มีความเครียดในการปรับตัวมากขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นที่มีปัญหาด้านการเรียนและปัญหาทางด้านครอบครัว บางคนก็สูบบุหรี่เพื่อระบายความเครียด ดังนั้นวัยรุ่นส่วนใหญ่เลยหันมาสูบบุหรี่มากขึ้น

    อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่า บุหรี่นั้นมีผลต่อสุขภาพร่างกาย ทำให้เป็นหวัดได้ง่าย ไอ หายใจไม่สะดวก ระคายคอ เสียงแหบ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และเป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ ฟันและเสื้อผ้ามีสีน้ำตาล เล่นกีฬาหรือใช้แรงได้น้อยลงด้านสุขภาพจิตนั้น วัยรุ่นบางคนมีปัญหาด้านสุขภาพจิตมาก่อนแล้วมาสูบบุหรี่ เช่น เครียดง่าย มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ขาดทักษะด้านการเรียน มีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม ก็เลยหันมาใช้บุหรี่เป็นที่พึ่ง แต่ในวัยรุ่นบางคน เมื่อสูบบุหรี่แล้วทำให้เกิดผลต่อสุขภาพจิตตามมาได้ ดังจะเห็นได้จากงานวิจัยใหม่ๆ จะเริ่มสนใจ ผลของบุหรี่ต่อสุขภาพจิยของวัยรุ่น เช่น การวิจัยในต่างประเทศพบว่า การสูบบุหรี่เรื้อรังในวัยรุ่นอาจจะทำให้เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความวิตกกังวล ผลการสำรวจพบว่า 31 % ของวัยรุ่นสูบบุหรี่ 20 มวน/วัน หรือมากกว่านี้ จะมีบุคลิกภาพแบบวิตกกังวล และอาจได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติด้านอารมณ์ มีบุคลิกภาพต่อต้านสังคม และมีการใช้สารเสพติดชนิดอื่นตามมาในที่สุด
 สารต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในบุหรี่ และในควันบุหรี่ ที่กล่าวมาแล้ว เมื่อผู้สูบบุหรี่สูดเข้าสู่ร่างกายพร้อมๆ กัน จะก่อให้เกิดพิษ ที่ทำอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งผลกระทบต่อร่างกาย ทำให้เกิดอาการดังนี้ 










  • ประสาทสัมผัสของการรับรู้กลิ่นและรส จะทำหน้าที่ได้ลดลง
  • แสบตา น้ำตาไหล
  • ขนอ่อนที่ทำหน้าที่พัดโบก เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมภายในหลอดลมเป็นอัมพาต หรือทำงานได้ช้าลง
  • ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอด และในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตสูงขึ้น
  • มีกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น
  • เกิดกลิ่นที่น่ารังเกียจตามร่างกาย และเสื้อผ้า
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และมีกลิ่นปาก
  • โรคมะเร็งปอด และมะเร็งในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น กล่องเสียง ลำคอ หลอดอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ
  • โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจขาดเลือด มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการ หัวใจวาย
  • โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดส่วนอื่นๆ ตีบตัน และหลอดเลือดใหญ่ทรวงอก และช่องท้องโป่งพอง
  • โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลม อักเสบเรื้อรัง
  • ทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อม จากการอุดตันของเส้นเลือดขนาดเล็ก ที่ไปเลี้ยงประสาท ที่เกี่ยวกับการควบคุมการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • เกิดอาการเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงแขนและขาตีบตัน อาจต้องตัดแขนหรือขาทิ้ง
    


ความคิดเห็น
     การที่วัยรุ่นสมัยใหม่มีค่านิยมในการสูบบุหรี่สูงมากจึงความหาทางเปลี่ยนความคิดที่ผิดๆว่าสูบุหรี่แล้วเท่ การสูบบุหรี่เป็นจุดเริ่มต้นต่อไปอาจจะไปเสพสารเสพติด ผู้ปกครองจึงควรเอาใจใส่กับวัยรุ่นอธิบานถึงโทษและผลกระทบของการสูบบุหรี่หรือให้วัยรุ่นใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่ให้เข้าไปในที่ ที่เสี่ยงต่อการสูบบุหรี่


           จัดทำโดย

นาย ธีรภัทร รัชตะอดุลศิลป์ ม.5/6 เลขที่9
นาย ชัยประสิทธิ์ อินทร์อร่าม ม.5/6 เลขที่13




นักเรียนกับการเลือกตั้ง

การเลือกตั้ง คืออะไร?


  การเลือกตั้งของประเทศไทย เป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศไทย อาทิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย, วุฒิสภาไทย, ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ผู้ว่าเมืองพัทยา และผู้บริหารท้องถิ่นอื่น ๆ ด้วยการให้ประชาชนออกเสียงเลือกบุคคลที่เห็นสมควร
ประเทศไทยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปมาแล้ว 25 ครั้ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา โดยครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2554
สำหรับประเทศไทย การเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของพลเมืองชาวไทย และตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา อำนวยการโดย คณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่เป็นอิสระ



ประชาธิปไตย (democracy) คือแนวคิดที่เชื่อว่าประชาชนมีสิทธิที่จะปกครองตนเอง ซึ่งแตกต่างจากแนวคิดก่อนหน้า ที่เชื่อว่าประชาชนมีชีวิตอยู่เพื่อเสริมสร้างบารมีหรือความมั่งคั่งให้กับกษัตริย์ หรือมีชีวิตตามความต้องการของพระเจ้า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์นี้เป็นผลจากยุคแสงสว่าง

การนำแนวคิดประชาธิปไตยมาใช้จริงนั้นมีลักษณะเป็นขั้นเป็นตอน จากประชาธิปไตยเชิงรูปแบบ ไปเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม แม้ว่าประเทศส่วนใหญ่ในโลกเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่บางประเทศก็เป็นแค่ในนาม บางประเทศเป็นประชาธิปไตยที่ไม่มีเสรีภาพ หรือประชาธิปไตยครึ่งใบ บางประเทศเป็นประชาธิปไตยเชิงเสรี และบางประเทศก็พัฒนาไปเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของรัฐบาล และมีกิจกรรมทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ

ประชาธิปไตยนั้น กล่าวได้ว่ามีความหมายทั้งในแง่อุดมการณ์หรือลัทธิความคิดทางการเมือง และความหมายในเชิงระบอบการปกครอง โดยเป็นที่ประจักษ์กันทั่วไปว่า ระบอบการปกครองที่สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีกลไกเงื่อนไขรองรับศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคมคือการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ถือว่าประชาชนคือเจ้าของอำนาจ

คำว่า “ประชาธิปไตย” มาจากภาษากรีกโบราณว่า “Democratia” เป็นคำผสมระหว่างคำว่า “Demo” หมายถึง ประชาชนหรือสาธารณชนทั่วไป นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ กล่าวถึงคำว่า demo หรือ demos ว่ามี 2-3 ความหมาย ความหมายแรกหมายถึง ประชาชนหรือสาธารณะชนดังกล่าวไปแล้ว อีกความหมายหนึ่งคือ ชายฉกรรจ์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ไม่ได้เป็นทาส มีอิสระและได้แสดงตนว่าสามารถทำหน้าที่ปกป้องนครรัฐของตนเองได้

ส่วนอีกความหมายหนึ่งคือสภาประชาชน หรือ “ekklesia” ซึ่งเป็นที่รวมของรายชื่อประชาชนทั้งหลาย) อีกคำหนึ่งที่ประกอบคือ “cratia” ที่มีความหมายถึง ระบอบการปกครอง อันอาจจะสรุปความหมายของประชาธิปไตยได้จากสุนทรพจน์อันลือเลื่องของประธานาธิบดีลิงคอล์น อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่ว่า ประชาธิปไตยคือการปกครอง “ของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” ที่ถือว่าอำนาจหน้าที่ในการปกครองประเทศจะต้องมาจากประชาชนหรือได้รับความยินยอมจากประชาชน โดยจะมีการกำหนดวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวไว้
ประชาธิปไตยแบบตัวแทน (อังกฤษ: representative democracy) โดยทั่วไปมักเรียกว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยที่มีลักษณะตรงข้ามกับประชาธิปไตยแบบทางตรง หรือเป็นประชาธิปไตยแบบทางอ้อม (อังกฤษ: Indirect Democracy)

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน เป็นระบอบการเมืองที่ให้ประชาชนเลือกผู้แทนของตนเข้าไปบริหารและตัดสินใจแทนตน เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมอบอำนาจอธิปไตยให้ผู้แทนที่เขาเลือกตั้งเข้าไปตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งของรัฐ เป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวแทน โดยมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่แน่นอน เช่น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปี สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ 6 ปี สำหรับสมาชิกวุฒิสภา

ในประเทศประชาธิปไตยส่วนใหญ่ที่ได้ยึดถือหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่ายคือ

อำนาจนิติบัญญัติ
อำนาจบริหาร
อำนาจตุลาการ

การเลือกตั้งผู้แทนมักใช้เพื่ออำนาจในสองประการแรก คืออำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร เช่นตัวอย่างประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยแบบตัวแทนดังกล่าวนี้ มีปัญหาพื้นฐานพอที่จะกล่าวถึงได้ใน 2 ประการประกอบด้วย

ปัญหาความเป็นตัวแทนของผู้แทนราษฎรที่อาจจะไม่ได้สะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชน เนื่องจากการเบี่ยงเบนผลการเลือกตั้งหรือด้วยวิธีการอื่นเช่น การซื้อเสียง การโกงการเลือกตั้ง (อังกฤษ: election fraud) ประการหนึ่ง
ปัญหาความโน้มเอียงที่ผู้แทนราษฎรจะตัดสินใจประการใดประการหนึ่ง โดยเฉพาะในกระบวนการทางนิติบัญญัติ ที่จะเป็นการเอื้อต่อกลุ่มผลประโยชน์ และหลายกรณีที่ผลการตัดสินใจนั้นบังเกิดผลเสียหายแก่ชุมชนท้องถิ่น ซึ่งก็เป็นผลสืบเนื่องจากการการขาดความสำนึกเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนของปวงชน อันเป็นปัญหาในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเฉพาะตัวของผู้แทนด้วยประการหนึ่ง


สรุป

ประเทศไทยของเราการปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย หรือระบอบ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายสูงสุด คือรัฐธรรมนูญ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขของประเทศ ดังนั้นเราจึงต้องมีระบบการเลือกตั้งเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นเเละตามหลักความเป็นจริงประชาชนทุกคนก็ไม่สามารถที่จะไปทำหน้าที่ในสภาได้เราจึงเลือกตั้งเพื่อให้คนที่เราเลือกไปทำหน้าที่เเทนเรา  โดยประชาชนจะมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน ดังนั้นเราก็ควรที่จะเลือกบุคคลที่ดีทำงานเก่งไม่โกงประเทศเข้าไปทำงานเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเเละเพื่อประโชยน์ของตัวเราเองด้วย ในฐานะที่เราเป็นนักเรียนหากเราอายุครบ18ปีบริบูรณ์เราก็สามารถที่จะได้เลือกตั้ง เเละได้ใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่ เราก็ควรใช้สิทธิที่เรามีนั้นใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุดเลือกคนที่เราคิดว่าเขาทำงานดีเเละไม่โกงเข้ามาเป็นตัวเเทนเรา 1เสียงเล็กๆของเราก็มีความหมายต่อประเทศ

จัดทำโดย
น.ส. กาญจนา  อุบาลี  เลขที่ 6 ม.5/6
นาย ธนาธิป  วันสุข  เลขที่ 20 ม.5/6

ภัยพิบัติธรรมชาติและ ปรากฏการณ์ธรรมชาติ


ภัยพิบัติธรรมชาติ

ภัยพิบัติธรรมชาติ (Natural Disasters) หมายถึง เหตุการณ์ที่อาจเกิดจากธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่อาจเกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน

              ประเภทของภัยพิบัติ  แบ่งได้เป็น10 ประเภท คือ

1). การระเบิดของภูเขาไฟ (Volcano Eruptions)

2). แผ่นดินไหว (Earthquakes)

3). คลื่นใต้น้ำ (Tsunamis)

4). วาตภัย หรือภัยจากพายุในรูปแบบต่าง ๆ (Various Kinds of storms) คือ

       ก. พายุแถบเส้น Tropics ที่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทร (Tropical Cyclones)

       ข. พายุหมุนที่มีแหล่งกำเนิดบนบก (Tornadoes)

       ค. พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorms)

5). อุทกภัย (Floods)

6). ภัยแล้ง หรือทุพภิกขภัย (Droughts)

7). อัคคีภัย (Fires)

8). ดินถล่ม และโคลนถล่ม (Landslides and Mudslides)

9). พายุหิมะและหิมะถล่ม (Blizzard and Avalanches)

10). โรคระบาดในคนและสัตว์ (Human Epidemics and Animal Diseases)

            ภัยข้างต้นนั้นพิจารณาจากสภาพความรุนแรงของความเสียหายเกิดผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก หรือการไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้า ส่วนภัยที่รู้ล่วงหน้าเพราะเกิดขึ้นเป็นปกติตามธรรมชาติว่าจะเริ่มและสิ้นสุดเมื่อใด เช่น อากาศหนาว หรือภัยที่ไม่ส่งผลกระทบรุนแรงและสามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น คลื่นความร้อน ฟ้าผ่า โดยหลักสากลภัยจำพวกนี้ไม่ถือเป็นภัยพิบัติ

ตัวอย่างเช่น    

อุทกภัย (Flood) หมายถึง อันตรายจากน้ำท่วม

ภัยแล้ง (Droughts) หมายถึงสภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนน้ำของพืช ณ ช่วงเวลาต่างๆ
 

วาตภัย (Storms) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง สำหรับในประเทศไทยวาตภัยหรือพายุลมแรงมีสาเหตุมาจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือ
1)พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone) ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น
2)พายุฤดูร้อน ส่วนมากจะเกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเกิดถี่ในทุกๆภาค
3) ลมงวง (เทอร์นาโด) เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียน ของลมภายใต้เมฆก่อตัวในทางตั้ง หรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (เมฆคิวมูโลนิมบัส) ที่มีฐานเมฆต่ำ กระแสลมวนที่มีความเร็วลมสูงนี้จะ ทำให้กระแสอากาศเป็นลำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆดูคล้ายกับงวงหรือปล่องยื่นลงมา ถ้าถึงพื้นดินก็จะทำความเสียหายแก่บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้างได้





แผ่นดินไหว(Earthquakes)หมายถึงการสั่นสะเทือนของพื้นดินอันเกิดขึ้นได้ทั้งจากการกระทำของธรรมชาติและ มนุษย์ ส่วนที่เกิดจากธรรมชาติ ได้แก่ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลกโดยฉับพลัน ตามแนวขอบของแผ่นเปลือกโลก หรือตามแนวรอยเลื่อน การระเบิดของภูเขาไฟ การยุบตัวของโพรงใต้ดิน แผ่นดินถล่ม อุกาบาตขนาดใหญ่ตก เป็นต้น ส่วนที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิดต่างๆ การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร เป็นต้น

 
 ปรากฏการณ์ธรรมชาติ

                ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้นเอง และมีผลกระทบกับมนุษย์

ตัวอย่างเช่น

หมอก (Fog) คือ ละอองน้ำเล็ก ๆ ที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในบรรยากาศใกล้ผิวโลกหรือหมอก คือเมฆที่เกิดในระดับใกล้พื้นโลกนั้นเอง เกิดจากการกลั่นตัวขนาดเล็ก ทำให้เกิดน้ำค้าง น้ำค้างแข็ง หมอกไรม์ บริเวณใกล้พื้นดิน และมักเกิดในเวลากลางคืนหรือเช้า ๆ ที่อากาศเย็น กลางวันไม่ค่อยมีหมอกและส่วนใหญ่จะเกิดกับบริเวณที่อากาศเย็นท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีลมหรือลมมีเล็กน้อย
 


                การเกิดน้ำค้าง   น้ำค้างเกิดขึ้นจากละอองไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ เพราะโดยปรกติแล้ว น้ำมีการระเหยกลายเป็นไอแทรกซึมเข้าไปอยู่ในอากาศได้ทุกขณะ  ในเมื่อความชื้นของอากาศยังมีน้อยไม่ถึงจุดอิ่มตัว   แต่พออากาศอมเอาไอน้ำไว้ได้มากจนถึงจุดอิ่มตัวแล้ว  มันจะไม่ยอมรับไอน้ำที่ระเหยอีกต่อไป นอกจากมันจะได้  "คาย" ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศก่อนแล้วนั้นออกไปเสียบ้าง  



น้ำค้างแข็ง หรือ แม่คะนิ้ง ในภาษาอีสาน เหมยขาบ จะเกิดขึ้นจากไอน้ำในอากาศที่ใกล้ๆกับพื้นผิวดินลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดน้ำค้าง จากนั้นก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ โดยอุณหภูมิยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงจุดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง น้ำค้างก็จะเกิดการแข็งตัวกลายเป็นน้ำค้างแข็ง เกาะอวดโฉมตามยอดไม้ใบหญ้า



                ฝนตก เกิดจาก น้ำโดนความร้อนจากแสงอาทิตย์จนทำให้ระเหยกลายเป็นไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำมากขึ้น จะรวมตัวกันเป็นละอองน้ำเล็กๆ ปริมาณของละอองน้ำยิ่งมากขึ้นเรื่อยก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆฝนพอมากเข้า อากาศก็ไม่สามารถพยุงละอองน้ำเหล่านั้นได้ น้ำก็จะหล่นลงมากลายเป็นฝน


 



จัดทำโดย
น.ส.นภัสสร   ทัพพิจิตร์     ม.5/6    เลขที่  16
น.ส.กนกวรรณ     ลัดดาศรี     ม.5/6    เลขที่  23
น.ส.กิตตินันท์     จันจุติ    ม.5/6   เลขที่  24