วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

นายสุรเชษฐ์ พรหมศรี เลขที่22

ทำไมนักเรียนถึงไม่ทานอาหารที่โรงอาหารของโรงเรียน



                 จากการสอบถามและหาข้อสรุปว่าทำไมถึงไม่ทานอาหารของโรงอาหาร สาเหตุก็เพราะว่านักเรียนรับประทานอาหารที่มีรสชาติไม่อร่อย เบื่อที่ต้องรับประทานอาหารรสชาติเดิมๆ เบื่อที่ต้องรอคิวนานๆ เสียเวลา อีกทั้งครูปล่อยช้า การทานอย่างอื่นแทนดูเหมือนจะดีกว่า

                 
                จากผลการสำรวจข้างต้นนั้นทำให้ข้าพเจ้าได้ข้อสรุปว่าสาเหตุที่นักเรียนไม่ทานอาหารที่โรงอาหารของโรงเรียนนั้นก็เพราะว่านักเรียนของเราต้องได้สัมผัสกับอาหารรสชาติเดิมๆ และในบางครั้งก็เร่งรีบมากเกินไป จนต้องเปลี่ยนไปรับประทานอาหารพวก fastfood ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจให้พลังงานในทางที่มากได้ แต่ก็ทำให้นักเรียนของเราขาดสารอาหารได้ ในนักเรียนบางส่วนซื้อมาม่ารับประทาน จากผลการสำำรวจนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลให้กับโรงอาหารของโรงเรียนได้เพื่อนำไปปรับปรุงในรสชาติอาหาร 

หลักการเปลี่ยนพฤติกรรมของวัยรุ่น

หลักการเปลี่ยนพฤติกรรมในวัยรุ่น
         การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในตัวเด็กที่พ่อแม่ไม่ต้องการ และเพิ่มพฤติกรรมที่ดี เป็นวิธีการที่พ่อแม่ควรเข้าใจหลักการที่สำคัญ
         1. สร้างสัมพันธภาพที่ดี ใกล้ชิดสนิทสนมกันต่อเนื่องสม่ำเสมอ และยาวนาน รู้เขา รู้เรา เข้าใจความคิดความรู้สึกของลูก คาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ว่า รู้จุดเด่น จุดอ่อน ของลูก
         2. สื่อสารสองทาง ชัดเจน เข้าใจตรงกัน รับฟังกันได้มากขึ้น ยอมรับ ประนีประนอมกัน
         3. สร้างขอบเขตที่เหมาะสม เคารพในกติกาที่ช่วยกันสร้างขึ้น และเอาจริงกับสิ่งที่ตกลงกัน ชัดเจนในเรื่องที่ “ วิกฤต” จริงๆ เท่าที่จำเป็น ไม่ควรมีมากนัก เช่น ยาเสพติด หรือเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องเสี่ยงมาก ไม่ควรทดลอง
         4.ให้รางวัลในพฤติกรรมที่ดี ที่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ หรือเงิน อาจให้คำชม การชื่นชมอย่างจริงใจ         
         5.ให้โอกาสให้เด็กได้ทำสิ่งที่ดีบ่อยๆในหลายรูปแบบพยายามส่งเสริมให้ได้ทำจนประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างความภูมิใจในตนเอง ตามความชอบความถนัด
         6.หาพฤติกรรมทดแทน มาแทนที่พฤติกรรมที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เช่น ถ้าไม่ต้องการให้เด็กเล่นเกม ควรจัดเวลาให้เด็กมีกิจกรรมหลากหลาย และพยายามส่งเสริมให้ใช้เวลากับกิจกรรมอื่นที่ชอบ แต่เหมาะสมกว่า เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ
         7. เป็นแบบอย่างที่ดี มีระเบียบวินัย จัดการกับชีวิตอย่างเหมาะสม มีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง มีการดำเนินชีวิตที่มีการวางแผนการ เป็นไปตามขั้นตอบ อย่างรอบคอบและมีหลักการที่ถูกต้อง เวลาเผชิญปัญหา มีจิตใจสงบมั่นคง และแสวงหาทางออกอย่างถูกต้องเหมาะสม
         8. ส่งเสริมพฤติกรรมและการเรียนรู้ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม สังเกตจุดอ่อน และสร้างทักษะใหม่ที่จะเอาชนะจุดอ่อนเท่าที่จะเป็นไปได้
การเปลี่ยนพฤติกรรมในวัยรุ่นอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น
1. การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้พฤติกรรมบำบัด
      • จัดสิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศให้เหมาะสม เช่นเวลาเรียน ควรปิดโทรทัศน์ ไม่ควรมีสิ่งรบกวน
      • ใช้สิ่งกระตุ้น ตัวกระตุ้น ที่สร้างแรงจูงใจ เช่นรูปนักกีฬาที่ชื่นชอบ ช่วยกระตุ้นให้ฝึกซ้อมกีฬา ตารางการดูหนังสือ ช่วยกระตุ้นให้อ่านหนังสือ
      • การตั้งเงื่อนไข เช่น จะดูโทรทัศน์ได้เมื่อทำการบ้านเสร็จแล้วเท่านั้น
      • การให้รางวัล เมื่อทำดี มีรางวัล อาจเป็นคำชม สิ่งของ เงิน หรือโอกาสพิเศษ หรือให้รางวัลที่เป็นแต้ม ที่สามารถสะสมมากขึ้นเพื่อแลกเป็นรางวัลที่ใหญ่ขึ้น
      • แก้ไขด้วยการทำซ้ำ เช่น เขียนคำที่ผิดให้ถูกต้องบนกระดาน 100 จบ
      • การดัดพฤติกรรม ค่อยๆฝึกหรือแก้ไขพฤติกรรมทีละน้อย เช่น การสอนให้สวมเสื้อ เริ่มจาก การฝึกใส่กระดุม
      • การใช้แบบอย่างที่ดี คือการทำตนเองให้เป็นแบบอย่าง ต้องมีพื้นความสัมพันธ์ที่ดีก่อน
      • หากิจกรรมที่ดี มาทดแทน หรือเบนความสนใจไปจากกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เล่นกีฬาแทนที่การเล่นเกม
      • ลงโทษ เพื่อให้เกิดความไม่พอใจเมื่อทำความผิด เช่น การตี ตัดรางวัล ตัดโอกาส การใช้ควรระมัดระวัง อาจเกิดผลเสียตามมาได้มาก ต้องมีการตกลงกันล่วงหน้า
      • ถอนพฤติกรรม ลดการลงโทษ/ดุ/ด่า ที่ไม่ได้ผล และยังทำให้พฤติกรรมนั้นยังคงมีอย
2. การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้การให้คำปรึกษา ( Counseling)
         การให้คำปรึกษา คือการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ด้วยการใช้เทคนิคต่าง ของการสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร ความเข้าใจและมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา ประกอบด้วย
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  • สำรวจปัญหาร่วมกัน และเลือกเรื่องที่จะทำงานร่วมกัน
  • ประคับประคองจิตใจให้อารมณ์สงบ
  • การแก้ปัญหา กระตุ้นให้มองหาทางเลือก ข้อดีข้อเสีย ชี้แนะ ช่องทาง ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ
  • ให้ตัดสินใจด้วยตนเอง
  • การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง และติดตามผล
  • การยุติการช่วยเหลือ
3. การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวบำบัด
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว
  • แสวงหาข้อมูลจากครอบครัว
  • วิเคราะห์ครอบครัว ปัญหาของครอบครัว จุดอ่อน จุดแข็ง หน้าที่ของครอบครัว บทบาท การสื่อสาร การเข้าใจความรู้สึก
  • ชักจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในโครงสร้าง และหน้าที่ของสมาชิกครอบครัว
  • ชี้แนะช่องทางของการเปลี่ยนแปลง
  • ฝึกทักษะที่เป็นปัญหา
  • ใช้หลักพฤติกรรมบำบัด ร่วมด้วยเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4. การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้เพื่อน
    • สร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันแบบกลุ่ม ไม่โดดเดี่ยว ไม่เอาตัวรอดคนเดียว เพื่อนมีหน้าที่ช่วยเหลือกัน
    • สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน เมื่อมีใครหายไปเพื่อนควรสนใจ เป็นห่วงเป็นใย ติดตามข่าวสาร พยายามดึงเพื่อนเข้ากลุ่ม มีการแบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน
    • เมื่อมีเพื่อนทำผิด เพื่อนที่ดีควรช่วยเตือน และชักจูงให้เปลี่ยนแปลง เลิกทำผิด กลับมาทำดี โดยไม่โกรธกัน มองกันในทางที่ดี
    • ฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี บอกความคิด ความต้องการ ความรู้สึก เมื่อไม่พอใจมีวิธีบอกให้เพื่อนเข้าใจ และสนองความต้องการกันได้ตรงจุด
         ฝึกทักษะสังคมทางบวก การให้ การรับ การขอโทษ การขอบคุณ การเข้าคิว รอคอย การทำดีต่อกัน การพูดดีๆ สุภาพ อ่อนโยน ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อกัน

จัดทำโดย
นาย กษิเดช แก้วผลึก ม.5/6 เลขที่ 12
นาย กิตติพัฒน์ ปาอาภรณ์ ม.5/6 เลขที่ 33

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

สาเหตูและปัญหาการมาโรงเรียนสายของเด็กนักเรียน

การมาโรงเรียนสาย
การมาโรงเรียนสาย คือ การที่เด็กนัดเรียน ของโรงเรียนนั้นๆ มาไม่ทัน กิจกรรมหน้าเสาธงตอนเช้า หรือ มาไม่ทัน เวลาที่โรงเรียนกำหนด ทำให้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดีที่ติดต่อกันไปเรื่อยๆ

สาเหตุการมาโรงเรียนสาย สาเหตุนั้น มีได้หลายอย่าง เช่น
1. การนอนดึก การนอนดึกนี้ อาจจะมีเหตุผลหลายๆอย่างที่ทำให้นอนดึก ไม่ว่าจะเป็น การติดเกมส์ การติดละคร ซีรีส์ ภาพยนต์ การเที่ยวกลางคืน การนอนไม่หลับ สาเหตุเหล่านี้ ทำให้เรานอนดึกได้
2. ระยะทางทางจากที่พักมาโรงเรียน ระยะทางจากที่พักมาโรงเรียนนั้น อาจจะไกล ทำให้คนเหล่านั้นมาสายได้
3. ปัญหารถติด ปัญหารถติดเป็นปัญหาที่อาจจะมีในไม่กี้ที่ แต่ก็เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในหลายๆอย่าง สาเหตุนี้ ส่งผลให้เกิดการมาโรงเรียนสาย เพราะในเวลาที่รถติดแต่ล่ะครั้งนั้น ใช่เวลาไม่ใช่น้อย
4.การไม่อยากมาโรงเรียน การไม่อยากมาโรงเรียน เป็นสาเหตุอาจจะมีไม่มากนัก แต่เป็นสาเหตุที่อาจทำให้คนๆ นั้นไม่อยากมาโรงเรียนอีกเลย การที่ไม่อยากมาโรงเรียนนั้น อาจจะมาจากการที่เบื่อการเรียน กลัวโดนรังแก เป็นตั้น



การสายเสมอสะท้อนว่าเรา...
  1. ไม่ใส่ใจหรือไม่ให้คุณค่าในตัวผู้อื่น (เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง)
  2. ไม่รู้จักจัดการเวลา
  3. ไม่รักษาสัญญา
การสายเสมอนำสู่อะไรบ้าง?
  1. นำสู่การเป็นผู้ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น เพราะมีประวัติว่ารับปากอะไรแล้วก็ไม่ทำตามที่พูด ความซื่อสัตย์ การรักษาสัญญา เป็นที่มาของความไว้วางใจระหว่างมนุษย์
  2. นำสู่นิสัยชอบแก้ตัว ความรู้ผิดรู้ถูกในส่วนลึกที่มีอยู่ในตัวคุณสายเสมอทำให้เขารู้สึกผิดที่มาสาย แต่แทนที่จะแสดงให้คนอื่นเห็นอย่างตรงไปตรงมาว่าตัวเองรู้สึกผิด และจะพยายามปรับปรุงตน กลับใช้ความคิดหาเหตุผลมาแก้ตัว โดยโทษเหตุภายนอก โยนไปใส่เหตุการณ์ ถนนหนทาง จราจร หรือโยนใส่คนอื่น ลูกน้อง เจ้านาย ฯลฯ) จนกลายเป็นผู้ชำนาญการหาเหตุผลแก้ตัว แก้ได้แนบเนียนจนคนฟังแล้วหลงไหล (ลิงก็ยังหลับ) ซึ่งแท้ที่จริงแล้วคำแก้ตัวนั้นเพื่อลดความคับข้องใจของตน (โดยไม่รู้ตัวเพราะไม่ได้สังเกตตนเอง) หากเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนคนที่สัมพันธ์ด้วยเห็นเป็นบุคลิกภาพของคุณสายเสมอ (ถูกคนอื่นตีตรา) แล้ว คนอื่นฟังคำแก้ตัวแล้วเขาอาจเฉยๆ เพราะเขารู้อุปนิสัยของ "คุณสายเสมอแล้ว ถ้าเขาจะสนใจฟังอยู่บ้างก็คือ ฟังว่าวันนี้ "คุณสายเสมอจะหาคำแก้ตัวอะไรมาอีก
วิธีแก้
  1. ตั้งจิตตั้งใจว่าการไปถึงที่นัดหมายตรงเวลาคือการรักษาสัญญาอย่างหนึ่ง เพื่อไม่ให้ผิดสัญญาอย่างแน่นอนก็ต้องไปให้ถึงก่อนเวลาสัก ๑๕ นาที หากเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ก็ไปถึงก่อนครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
  2. ทุกครั้งที่สาย หากพบว่าตัวเองกำลังคิดแก้ตัว ก็หยุดคิด หากสังเกตตัวเองไม่ทันแต่หลุดแก้ตัวไปแล้ว มาเห็นกลางคัน หากหยุดได้ก็หยุด แล้วเปลี่ยนเป็นพูดขออภัย ยอมรับ และให้สัญญาว่าจะพยายามไม่ให้ตัวเองเป็นแบบนี้อีก (ประกาศให้ทุกคนรู้ไปเลยว่า กำลังรบกับตัวเองเรื่องนี้)
  3. เขียนเวลาไปถึงที่หมายลงไว้ในปฏิทินนัดหมายต่อจากเวลาที่นัดหมาย แล้วประเมินเป็นระยะๆ เช่น เดือนละครั้ง ทำเป็นสถิติของความสำเร็จหรือล้มเหลวขึ้นมาดู พล็อตเป็นกราฟก็ดี
  4. หากในการนัดหมายนั้นเราต้องเป็นผู้นำเสนออะไรที่ต้องมีการเตรียมก็ต้องฝืนตัวเองทำให้เสร็จ "ก่อนวันนัดหมาย" ให้ได้ (การฝึกฝืนตัวเองนี้เป็นกุญแจสำคัญของการฝึกตัวเอง นั่นคือ ฝึกระลึกว่าอะไรสำคัญต้องทำก่อนก็ลงมือทำ สิ่งที่ไม่สำคัญเท่าแม้ใจอยากทำ มีแรงดึงดูด ก็วางไว้ก่อน พอฝึกไปสักพักก็จะเป็นเอง และจะมีความสุขเกิดขึ้นจากการทำสิ่งนั้นจนเสร็จ)

จัดทำโดย
นายณัฐวุฒิ เฉลิมดิษฐ์ เลขที่ 39
นายฐานเศรษฐ เรืองฤทธิ์ เลขที่ 21
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6

ความเชื่อเรื่องโลกแบน



คนยุคโบราณที่มีชื่อเสียงที่เชื่อว่าโลกแบน เช่น อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก ผู้ที่มีชีวิตอยู่ประมาณ 440 ปี กคศ. รวมทั้ง ดีโมครีตุส (Democritus) ผู้มีอายุอยู่ในช่วง 460-370 กคศ.  แต่พระคัมภีร์กล่าวไว้ในพระธรรมโยบซึ่งเป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ในราว 2000 ปี กคศ. ว่าโลกนั้นลอยอยู่เหนือที่ว่างเปล่า นั่นคือลอยอยู่ในอวกาศ ความเชื่อเรื่องโลกแบนสรุปเป็นเพราะศาสนาเพราะถ้าใครที่มีความคิดเห็นที่ขัดกลับศาสนา เขาก็จะถูกศาสนาลงโทษ 



คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (อังกฤษChristopher Columbus), กริสโตบัล โกลอน (สเปนCristóbal Colón), คริสโตโฟรุส โกลุมบุส (ละติน:Christophorus Columbus) หรือ กริสตอโฟโร โกลอมโบ (อิตาลีCristoforo Colombo; เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้า เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัว  ภายใต้การสนับสนุนของราชสำนักสเปน เขาได้เดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและทำให้ชาวยุโรปรู้จักทวีปอเมริกาในซีกโลกตะวันตกเป็นผลสำเร็จ การเดินทางทั้งสี่ครั้งและความพยายามที่จะตั้งถิ่นฐานบนเกาะฮิสปันโยลาของโคลัมบัสยังเป็นจุดเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมของสเปนและชาติมหาอำนาจอื่น ๆ ในทวีปยุโรปบน "โลกใหม่" อีกด้วย
ในช่วงที่ลัทธิจักรวรรดินิยมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ในยุโรป (ผ่านทางการควบคุมเส้นทางการค้าและการล่าอาณานิคม) กำลังเริ่มขึ้นนั้น โคลัมบัสได้วางแผนการเดินทางไปยังอินเดียตะวันออกโดยเดินเรือมุ่งไปทางตะวันตก ด้วยเขามีความเชื่อว่าโลกมีรูปร่างเป็นทรงกลม ความเชื่อนี้ขัดแย้งกับแนวความเชื่อในยุคนั้นว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบน แต่ปัญหาสำคัญที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง คือ ความเป็นไปได้ของการเดินทางรอบโลก เนื่องมาจากอุปสรรคเรื่องของอาหาร และข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการเดินเรือในสมัยนั้น เช่น การเดินเรือไปติดในบริเวณที่ไม่มีลม








ไม่เพียงเรื่องของสิ่งเร้นลับ แม้แต่ในชีวิตประจำวันเราเองก็ถูกสั่งห้ามมิให้แย้งต่อความเชื่อ ต่อคำสอน คำสั่ง ต่อธรรมเนียมปฏิบัติ ตัวอย่างที่เด่นชัดมากก็อย่างเช่นชะตากรรมของ เมอโซ ตัวละครใน “คนนอก” วรรณกรรมชิ้นเอกของ อัลแบร์ กามูร์ (อ่านเรื่องของเมอโซได้ที่ … “ไอ้ฟัก(กิ้ง)เมอโซ…คำพิพากษาของคนนอก”) หรือถ้าจะเป็นเรื่องที่ใหญ่โตจนสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ก็อย่างเช่นเรื่องของ กาลิเลโอ
ทุกวันนี้เรายอมรับกันโดยดุษฎีว่าโลกเรามีสัณฐานเป็นทรงกลม ก็เพราะเราเห็นด้วยตาชัดๆ ว่าโลกเราหน้าตามันเป็นอย่างไร แต่ในยุคโบราณที่วิทยาการยังไม่ได้ก้าวหน้า ความเชื่อในหลายๆ ด้านเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันผิด เพียงแต่ในขณะนั้นมัยไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ อีกทั้งองค์ความรู้ก็ยังมีอยู่อย่างจำกัด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทั้งโลกจะเชื่อกันว่าโลกเรานี้มันแบน มันแผ่กว้างออกไปสุดลูกหูลูกตา แล้วก็โลกเรานี่แหละที่เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลทั้งมวล
ยุโรปในยุคสมัยโน้นถูกปกครองโดยศาสนจักร แม้จะไม่ได้ปกครองโดยตรงแต่ก็มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายให้คุณให้โทษแก่ผู้ใดก็ได้ ในยุคที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ก่อกำเนิดเป็นรูปธรรม ศาสนาไม่ได้เป็นเพียงสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ หากแต่ยังเป็นที่พึ่งทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นผู้ตอบคำถามในข้อสงสัยทั้งหลายทั้งปวง เป็นเหมือนผู้ชี้นำให้มวลชนเดินตามไปในแนวทางเดียวกัน แม้กษัตริย์เองก็ยังไม่อาจขึ้นครองอำนาจได้ หากไม่ได้รับการยอมรับจากศาสนจักร

จัดทำโดย
เยาวลักษณ์ จรัสบุญประชา เลขที่37
อัฉริยาพร เอกวานิช เลขที่38







                                 
วัฒนธรรมเกาหลีในประเทศไทย


                
                 
  
วัฒนธรรมของเกาหลีเบ่งบานขึ้นในช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนาน แม้ว่าวัฒนธรรมของชาติในเอเชียอื่น ๆ จะมีผลกระทบบ้าง แต่วัฒนธรรมของเกาหลีเองก็ได้หยั่งลึกลงไปในจิตใจอันสรรสร้างของชาวเกาหลีแล้ว และมีแนวโน้มที่จะแพร่ขยายออกไปมากกว่าที่จะถูกละทิ้ง โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่นำความคิดและประเพณีตามแบบอย่างเกาหลีไปใช้ เครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบอันปราณีตละเอียดอ่อน และงานฝีมือที่งดงามประกอบการอธิบายได้เป็นอย่างดีในด้านการขัดเกลาวัฒนธรรม แม้แต่ตั้งแต่ยุคสมัยยุคสามอาณาจักร
       เกาหลีเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ ระบบการพิมพ์แบบแรกก่อนสมัยกุทเธนเบิร์ก, เรือเต่า ที่มีชื่อเสียง ซึ่งก็คือเรือรบหุ้มเกราะลำแรกของโลก และอักขระภาษาเกาหลีที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยกลุ่มของนักค้นคว้าตำราในศตวรรษที่ 15 ก็มีประสิทธิผลมากเสียจนแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตราบจนทุกวันนี้ เหตุผลแห่งความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจของเกาหลีสามารถค้นพบได้จากความคิดสร้างสรรค์ที่ฝังแน่นในจิตใจ 

ฮันบก  :  ชุดแต่งกายตามประเพณีชาติ เกาหลี     
          ฮันบก ของผู้หญิงประกอบด้วย กระโปรงพันรอบตัว เรียกว่า ชิมา และเสื้อ  ชอกอรี ซึ่งคล้ายเสื้อแจ็คเก็ตฮันบกของผู้ชายประกอบด้วยชอกอริเช่นกัน แต่สั้นกว่าของผู้หญิง และมีกางเกงเรียกว่า บาจิ ทั้งชุดของผู้หญิงและผู้ชายสวมคลุมทับด้วยเสื้อคลุมยาวเรียกว่า ตุรุมากิ ปัจจุบันนี้ชาว เกาหลี นิยมสวมชุดแต่งกายประจำชาติในงานเทศกาล หรือในงานพิธีต่างๆ เช่นพิธีแต่งงาน พิธีศพ

กิมจิ และ บุลโกกิ  :  อาหารเพื่อสุขภาพ
          บุลโกกิ แปลตามศัพท์หมายความว่า เนื้อย่าง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานในหมู่ชาว เกาหลี ในขณะที่กิมจิซึ่งเป็นผักดองรสจัดชนิดหนึ่ง ใช้รับประทานกับบุลโกกิมีรสไม่จัด ทำจากเนื้อสัตว์ได้หลายชนิด ที่นิยมมากที่สุดคือเนื้อวัวและเนื้อหมู
          เครื่องปรุงมีส่วนสำคัญที่ทำให้บุลโกกิและกิมจิมีรสชาติตามต้นตำรับ กิมจิ ทำจากผักได้หลายชนิด ที่นิยมได้แก่ผักกาดและหัวผักกาด วิธีการทำ นำผักมาดองในน้ำเกลือแล้วเทน้ำเกลือออกให้ผักแห้งพอหมาด แล้วคลุกด้วยเครื่องปรุง กิมจิเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง มีคอเลสตอรอลต่ำ และยังมีเส้นใยอาหาร รวมทั้งมีวิตามินมากกว่าแอปเปิล จึงมีมีผู้กล่าวว่า กินกิมจิวันละนิดหน่อย ไม่ต้องคอยไปหาหมอ"
 ฮันกึล  :  อักษร เกาหลี
          ตัวอักษร เกาหลี ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 15 โดยพระเจ้าเซจองแห่งราชวงศ์โชซอน ประกอบด้วยพยัญชนะ 14ตัว และสระ 10 ตัว การผสมกันระหว่างสระและพยัญชนะทำให้สามารถสร้างคำได้นับพันคำ เพราะตัวอักษรฮันกึลไม่มีความสลับซับซ้อนและมีจำนวนไม่มาก ภาษาเกาหลีสามารถเรียนรู้ได้ง่าย ปัญหาการไม่รู้หนังสือจึงหมดไปจาก เกาหลี
 จองเมียว เชอแยก  :  ดนตรีจองเมียวในพิธีสักการะบรรพบุรุษ
          ในวันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ลูกหลานของตระกูลชอนจู ยี ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์กษัตริย์โชซอน (1392  1910) จะประกอบพิธีสักการะบรรพบุรุษที่ศาลเจ้าจองเมียว ใน กรุงโซล
          แม้ว่าพิธีนี้จะกระทำโดยย่อแล้วก็ตามยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีดังกล่าวนี้ทั้งหมด 19 ชนิด ซึ่งประกอบด้วยระฆังหิน กระดิ่งทองเหลือง และกลองชนิดต่างๆ เครื่องดนตรีเหล่านี้ใช้บรรเลงบทเพลงประกอบพิธีกรรมดังกล่าวโดยเฉพาะ
 หน้ากากและการแสดงระบำหน้ากาก
          หน้ากากภาษา เกาหลี เรียกว่า ทัล ซึ่งทำจากกระดาษ ไม้ ผลน้ำเต้าและขนสัตว์ หน้ากากเหล่านี้จะสะท้อนถึงโครงสร้างหน้าตาของคน เกาหลี แต่หน้ากากบาง X ยถึงเทพเจ้ากับอมนุษย์ ความจริงกับมโนภาพลักษณะของหน้ากากนั้นมีรูปร่างที่ผิดธรรมชาติไปมากเพราะว่า ทัลชุม เป็นการแสดงระบำหน้ากากแสดงตอนกลางคืนโดยใช้แสงสว่างจากกองไฟ
          ระบำหน้ากากเป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ได้พัฒนาโดยชาวบ้านที่มีเชื้อสายโชซอน ที่มีความรู้สึกถึงความขัดแย้งในการปกครองจากชนชั้นสูงในสังคมส่วนใหญ่แล้วผู้แสดงและผู้ชมมักมีส่วนร่วมในตอนท้ายของการแสดง
 โสมเกาหลี
          โสมเป็นพืชที่นิยมปลูกกันทั่วไปในเกาหลี ซึ่งมีภูมิอากาศและสภาพดินดีเหมาะกับการปลูกโสมที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก โสมเกาหลีมีชื่อเรียกเฉพาะว่า โสมกอริโย (GORYEO GINSENG) ซึ่งตั้งตามชื่อของราชวงศ์กอริโยโบราณ เพื่อให้ต่างจากโสมที่นำไปปลูกตามที่ต่างๆทั่วโลก และชื่อประเทศเกาหลีที่เป็นภาษาอังกฤษว่า KOREA ก็ได้มาจากชื่อนี้
          โสมรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือเป็นยาเจริญอาหาร เชื่อกันว่าโสมทำให้กล้ามเนื้อต่างๆ และร่างกายแข็งแรง ช่วยกระตุ้นหัวใจ ป้องกันโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร เป็นยาชูกำลังและช่วยระงับประสาท โสมเป็นตัวยาสำคัญสำหรับการแพทย์แผนโบราณทางตะวันออก แต่ชาวเกาหลีนิยมดื่มโสม เช่นเดียวกับการดื่มชาหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
 วัดบุลกุกซา และถ้ำซอกกุรัม
          วัดบุลกุกซาเป็นวัดใหญ่และสวยที่สุดในเกาหลี ตั้งอยู่ที่เกียงจู เมืองหลวงของอาณาจักชิลลา (57 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 935) วัดบุลกุกซา ก่อสร้างโดยกษัตริย์บิวเพิง (ครองราชย์ 514  540) เป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ชิลลา ที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ทรงสวดมนต์ภาวนาขอให้อาณาจักรของพระองค์มีความอุดมสมบูรณ์และความสงบร่มรื่น
          โครงสร้างของวัดที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างขึ้นใหม่ทดแทนของเก่าเมื่อ 751 มาแล้ว แต่เดิมนั้นวัดนี้มีอาคาร 86 หลัง ซึ่งมากกว่าในปัจจุบันถึง 10 เท่า บนภูเขาด้านหลังวัด มีถ้ำหินที่มนุษย์สร้างขึ้นเรียกว่าถ้ำซอกกุรัมถือว่าเป็นถ้ำที่สวยที่สุดถ้ำหนึ่งในโลก
          ถ้ำซอกกุรัม ประกอบด้วยห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสำหรับนั่งพัก ภายในมีห้องโถงกลม มีโดมอยู่ตรงกลาง และถัดไปเป็นทางผ่านรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า องค์การ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนให้วัดบุลกุกซา และถ้ำซอกกุรัม เป็นมรดกโลกเมื่อปี 1995
 ภูเขาซอรักซัน
          เกาหลีมีภูเขาที่สวยงามสองลูก ลูกหนึ่งอยู่ทางใต้ ชื่อภูเขาซอรักซัน อีกลูกหนึ่งอยู่ทางเหนือ ชื่อ ภูเขากึมกังซัน ซอรักซันเป็นเทือกเขาทางใต้สุดยาวเป็นแนวเดียวกันกับกึมกังซัน หรือภูเขาเพชร ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ
          ป่าบนภูเขาซอรักซันซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,708 เมตร เป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ใบหลายชนิด และต้นสนนานาชนิด พันธุ์ไม้บนยอดเขานี้มีประมาณ 939 สายพันธุ์ มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 25 สายพันธุ์ นก 90 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 11 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 9 ชนิด แมลง 360 ชนิด และสัตว์น้ำ 40 ชนิด
  
 ศิลปินชาวเกาหลี
          ชาวเกาหลีเป็นผู้ที่มักจะแสดงออกถึงความสามารถทางด้านดนตรีและศิลปะ นักไวโอลินชื่อ ซาราห์ ชาง ได้บันทึกแผ่นเสียงการบรรเลงไวโอลินชุดแรกของเธอเมื่ออายุ 9 ขวบ นอกจากนี้ยังมีนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงคือ ชุงคยองฮวา ซึ่งเป็นนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงและมีความสารรถมากมาตลอด 25ปีที่ผ่านมา
          โจซูมิ เป็นนักร้องเสียงโซปราโน ซึ่งวาทยการ เฮอร์เบิร์ด วอน คาราจัน ได้ยกย่องเธอว่าเป็นนักร้อง เสียงพระเจ้าประทาน"
          อาจจะเป็นที่น่าประหลาดใจว่า แบกนัมชุน ชาวเกาหลีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งศิลปะวีดิทัศน์ นั้นเคยเป็นนักดนตรีและนักแต่งเพลงมาก่อน
          ในปี 1963 แบกนัมชุน เป็นคนแรกที่นำเสนอผลงาน พรีแพริด โดยใช้โทรทัศน์เป็นสื่อ หลังจากนั้นผลงานของเขามีอิทธิพลต่องานศิลปะร่วมสมัย ซึ่งเชื่อมโยงวีดีโอและโทรทัศน์กับโลกของศิลปะ สื่อ เทคโนโลยี วัฒนธรรมสมัยใหม่และศิลปะประเภท อะวอง การ์ด

 มรดกทางการพิมพ์
          การพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ของเกาหลีเริ่มเมื่อศตวรรษที่ 8 ตัวพิมพ์โลหะชิ้นแรกของโลก พัฒนาโดยชาวเกาหลีก่อนกูเดนเบิร์ก ของเยอรมนีกว่า 200 ปี
          ชาวเกาหลีสมัยราชวงศ์กอริโย (918  1392) ได้สร้างพระไตรปิฏกฉบับเกาหลีขึ้นในศตวรรษที่ 13 ซึ่งถือว่าเป็นพระคัมภีร์แม่พิมพ์ไม้เก่าแก่ที่สุดในโลก และองค์การ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี1995

เครื่องดนตรีตามประเพณีเกาหลี
          เครื่องดนตรีตามประเพณีเกาหลีมีประมาณ 60 ชนิด ที่ได้มีการสืบทอดกันจนถึงปัจจุบันเครื่องดนตรีเหล่านั้น มีทั้งพิณ 12 สาย เรียกว่า กายากึม และพิณ 6 สาย เรียกว่า กิวมันโก พิณทั้งสองชนิดนี้เชื่อว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6
          เครื่องดนตรีเกาหลีแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องสาย เครื่องเป่า และเครื่องตี คิมดุกซู ซามัลนอริ วงดนตรีประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีสี่ชิ้นที่มีชื่อเสียงมากทั้งในเกาหลีและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างบทเพลงเก่าและบทประพันธ์ใหม่ๆ ทำให้เกิดเป็นผลงานทางดนตรีในมิติใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
 ดันชอง  :  รูปแบบการตกแต่งอาคาร
          ดันชอง หมายถึง การตกแต่งอาคารและสิ่งของอื่นๆ ด้วยสีต่างๆ ตามสไตล์เกาหลีแสดงถึงความสวยงามและความมีสง่า ภูมิฐาน
          ดันชองใช้สี 5 สี คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีดำ และสีขาว นอกจากนี้ดันชองจะประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้มีความสวยงามแล้วและยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกคือ เป็นการรักษาพื้นผนังของอาคารและปกปิดวัสดุที่นำมาก่อสร้างบางอย่างที่ดูไม่งามตาไม่สวยงาม ในขณะเดียวกันก็ทำให้อาคารดังกล่าวโดดเด่นมีความสง่างามยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่แล้วดันชองใช้กับอาคารสถาปัตยกรรม รวมทั้งวัดวาอารามทั้งในกรุงโซลและภูมิภาคต่างๆ ของเกาหลี
 รูปแบบลวดลาย
          รูปแบบลวดลายต่างๆ นั้นมีที่มาจากรูปภาพแสดงความหมายต่างๆในสมัยก่อน โดยที่รูปแบบลวดลายเหล่านั้นเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความต้องการที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ อารมณ์ ความรู้สึกต่อสิ่งที่อยุ่รอบตัวแล้วพัฒนามาเป็นรูปแบบของศิลปะการตกแต่ง
          ในบรรดารูปแบบลวดลายต่างๆ ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของเกาหลี คือมังกร และนกฟินิกซ์ และ แทกึกสัญลักษณ์นี้ใช้ในธงชาติเกาหลีหมายถึงสิ่งที่แตกต่างหรือตรงข้ามกัน 2 อย่างระหว่า อึม กับ หยาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสงบเยือกเย็นกับการเคลื่อนไหว ความอ่อนแอดกับความแข็งแรง ความมืดกับความสว่างและเพศชายกับเพศหญิง รูปแบบเหล่านี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของความมีชีวิตยืนยาว 10 อย่าง คือ หิน ภูเขา น้ำ เมฆ ต้นสน เต่า กวาง นกกะเรียน เห็นราที่ไม่มีวันตาย และพระอาทิตย์
 ชาซุ  :  การเย็บปักถักร้อย
            การเย็บปักถักร้อย ผ้าและวัสดุตกแต่งประดับประดาต่างๆ เช่น ม่าน นั้นนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังใช้สำหรับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านเรือ เช่น ปลอกหมอน ซองแว่นตา กล่องบุหรี่ ที่ใส่ช้อน ตะเกียบ และแปรง
สามัญชนไม่อนุญาตให้ใช้เสื้อผ้าที่มีการถักทอเป็นลวดลาย ประเภทนี้นอกจากใช้ในพิธีแต่งงาน แต่สำหรับชาซุที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานั้น ใช้ผ้าที่มีการเย็บปักถักร้อย เป็นลวดลายที่แตกต่างจากการใช้เพื่อประดับประดา ผ้าดังกล่าวใช้ตกแต่งวัด พระพุทธรูปด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

งานฝีมือทำจากกระดาษ
          ชาวเกาหลีมีประเพณีที่เก่าแก่อย่างหนึ่งคือ การประดิษฐ์เครื่องใช้จากกระดาษ ซึ่งชาวเกาหลีนิยมใช้กระดาษที่ผลิตได้ในท้องถิ่นหรือผลิตได้ในพื้นบ้าน มาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ทำเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ถ้วยชามหลายขนาดที่มีฝาปิด ตะกร้า ถุงตาข่าย เหยือกน้ำ และถาดใส่ของ
          นอกจากนี้ยังมีสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษอีกมากมายเช่น กล่องเครื่องเขียน เสื่อ เบาะนั่ง ม่าน แล่ง กระบวย กระติกใส่แป้ง รองเท้า อ่าว และหม้อปัสสาวะ สิ่งประดิษฐ์ส่วนใหญ่จะถูกเคลือบด้วยวัสดุเคลือบผิว เพื่อทำให้ดูดี ทนทานและกันน้ำได้ ส่วนผสมของวัสดุเคลือบผิว ได้แก่ ส่วนผสมของน้ำมะพลับดิบ แป้งเปียกและน้ำมันเพอริลลา

บอจากิ  :  ผ้าห่อของ
          บอจากิเป็นผ้าเย็บขอบสี่เหลี่ยมมีขนาดและสีต่างๆ ซึ่งชาวเกาหลีใช้สำหรับห่อของเก็บของหรือห่อของเพื่อการพกพา
          บอจากิยังมีใช้อยู่บ้างแม้ว่าบอจากิจะใช้ในชีวิตประจำวันและแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของเกาหลี
          บอจากิแสดงถึงภูมิปัญญาของชาวเกาหลีที่ประดิษฐ์โดยแม่บ้าน จากสิ่งของเหลือใช้และเศษผ้าต่างๆ รูปแบบและลวดลายการเย็บปักถักร้อย ทำให้บอจากิ ดูมีเสน่ห์ สวยงาม สามารถพับเก็บได้ขนาดเท่ากับผ้าเช็ดหน้าเท่านั้น

 ภาพวาดพื้นบ้าน
          ภาพวาดพื้นบ้านนั้นเมื่อก่อนเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางกันในหมู่ชาวเกาหลีโดยใช้ตกแต่งบ้านเรือนและเชื่อว่าภาพพิมพ์นี้จะทำให้ชีวิตมีความสุขตลอดไป
          ในขณะที่ชาวเกาหลีชั้นสูงนิยมใช้ภาพพิมพ์ที่เป็นรูปทิวทัศน์ ดอกไม้และนก ภาพวาดนี้มักจะแทรกอารมณ์ขันและความเรียบง่ายของวิถีชีวิตในโลกนี้
          แม้ว่าภาพวาดพื้นบ้านเหล่านี้จะเป็นผลงานของศิลปินพื้นบ้านแต่ผลงานเหล่านี้กลับเป็นที่นิยมของทุกชนชั้นในสังคม ตั้งแต่ระดับเชื้อพระวงศ์ วัดวาอาราม จนถึงชาวบ้านในชนบท ภาพวาดเหล่านั้นมีเอกลักษณ์ องค์ประกอบที่เด่นชัด รวมทั้งลักษณะการใช้แปลงและพู่กัน และการให้สีที่ฉูดฉาด

 ซริ  : ประเพณีตามฤดูกาล
          ประเพณีเซริ ซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา ตรงกับวันที่เป็นการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลโดยยึดถือตามปฏิทินทางจันทรคติ เช่น ในวันขึ้นปีใหม่ ชาวเกาหลีจะทำการสักการะบรรพบุรุษ โดยการเซ่นไหว้ด้วยอาหาร เครื่องดื่มและเครื่องเซ่นต่างๆ หลังจากนั้นมีเซเบ หรือการโค้งคาราวะต่อผู้ที่อาวุโสในครอบครัว สำหรับในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย หรือที่เรียกว่าแดบอรึมนั้น จะมีการทำหุ่นฟางข้าว แล้วโยนลงในแม่น้ำ ซึ่งพิธีนี้ได้สูญหายไปจากหลายพื้นที่ในประเทศแล้ว แต่ประเพณีการกินเจ ยังกระทำอยู่โดยทั่วไป ในวันขึ้น 15 คำ เดือน 8 เป็นวันซูซอก เป็นวันแสดงความขอบคุณโดยลูกหลานจะไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน อาหารพิเศษสำหรับวันนี้มีซองเพียนซึ่งเป็นขนมรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ที่ใส่ งา ถั่ว ลูกเกาลัดหรือผักสดอื่น ๆ

 พีธีเปลี่ยนวัย
          ในเกาหลีนั้น เมื่อชาวเกาหลีเกิดมาจะมีประเพณีต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า กวานฮนอซังเจ ซึ่งรวมถึงประเพณีบรรลุนิติภาวะ ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีงานศพ และประเพณีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประเพณีบรรลุนิติภาวะ เป็นพิธีเรียบง่าย เด็กชายจะไว้ผมยาวและผูกจุก ได้รับกัดหรือหมวก ที่ทำด้วยหางม้า ส่วนเด็กหญิงจะถักผมเปียและทำมวยผม แล้วปักด้วยปิ่นปักผมโลหะ เรียกว่า บินยิว ส่วนประเพณีแต่งงานจัดขึ้นที่บ้านเจ้าสาว และเมื่อแต่งงานแล้วทั้งคู่จะอยู่ที่บ้านเจ้าสาวไปอีก 2-3 วัน แล้วจึงไปอยู่บ้านเจ้าบ่าว
          ประเพณีงานศพ ของชาวเกาหลีเป็นพิธีที่มีขึ้นตอนมากมาย การไว้ทุกข์มักจะกระทำเป็นเวลา 2 ปี และมีระเบียบพิธีสวดมนต์ กราบไหว้ สักการะเป็นระยะตลอด 2 ปี ชาวเกาหลีได้สืบทอดประเพณีการเซ่นไว้บรรพบุรุษแสดงถึงความผูกพันระหว่างผู้ตายและลูกหลาน

สวน
          แนวคิดหลักในการจัดสวน คือ การจัดสวนให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด หรืออาจพูดได้ว่า เป็นธรรมชาติมากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเห็นได้ว่าผลงานที่ออกมาแสดงถึงภูมิปัญญาของชาวเกาหลี
          แหล่งสวนโบราณที่ดีที่สุดมีการอนุรักษ์ไว้ คือ สระอันนับจิที่เกียงจู จังหวัดเกียงซังบุกโด นอกจากนี้ยังมีสวนที่สวยงามหาที่เปรียบมิได้คือ สวนในพระราชวังชังดอกกุง ในกรุงโซล มีเนื้อที่สวน 300,000 ตารางเมตร จากพื้นที่ทั้งหมด405,636 ตารางเมตร ของบริเวณพระราชวัง สวนนี้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถัน ประกอบด้วย ทางเดินและห้องโถงที่สวยงาม มีสระบัว ก้อนหิน สะพานหิน ทางเดิน ลำธารและน้ำพุ กระจัดกระจายอยู่ในป่า ซึ่งการจัดสวนแบบนี้เป็นการจัดสวนลักษณะประจำชาติของเกาหลี

                  จัดทำโดย
นายภาณุพงศ์  ชินอักษร ม.5/6 เลขที่ 5
นางสาวเบญจภรณ์  พิกุลทอง ม.5/6 เลขที่ 25