วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

                                 
วัฒนธรรมเกาหลีในประเทศไทย


                
                 
  
วัฒนธรรมของเกาหลีเบ่งบานขึ้นในช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนาน แม้ว่าวัฒนธรรมของชาติในเอเชียอื่น ๆ จะมีผลกระทบบ้าง แต่วัฒนธรรมของเกาหลีเองก็ได้หยั่งลึกลงไปในจิตใจอันสรรสร้างของชาวเกาหลีแล้ว และมีแนวโน้มที่จะแพร่ขยายออกไปมากกว่าที่จะถูกละทิ้ง โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่นำความคิดและประเพณีตามแบบอย่างเกาหลีไปใช้ เครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบอันปราณีตละเอียดอ่อน และงานฝีมือที่งดงามประกอบการอธิบายได้เป็นอย่างดีในด้านการขัดเกลาวัฒนธรรม แม้แต่ตั้งแต่ยุคสมัยยุคสามอาณาจักร
       เกาหลีเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่ ระบบการพิมพ์แบบแรกก่อนสมัยกุทเธนเบิร์ก, เรือเต่า ที่มีชื่อเสียง ซึ่งก็คือเรือรบหุ้มเกราะลำแรกของโลก และอักขระภาษาเกาหลีที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยกลุ่มของนักค้นคว้าตำราในศตวรรษที่ 15 ก็มีประสิทธิผลมากเสียจนแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยตราบจนทุกวันนี้ เหตุผลแห่งความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจของเกาหลีสามารถค้นพบได้จากความคิดสร้างสรรค์ที่ฝังแน่นในจิตใจ 

ฮันบก  :  ชุดแต่งกายตามประเพณีชาติ เกาหลี     
          ฮันบก ของผู้หญิงประกอบด้วย กระโปรงพันรอบตัว เรียกว่า ชิมา และเสื้อ  ชอกอรี ซึ่งคล้ายเสื้อแจ็คเก็ตฮันบกของผู้ชายประกอบด้วยชอกอริเช่นกัน แต่สั้นกว่าของผู้หญิง และมีกางเกงเรียกว่า บาจิ ทั้งชุดของผู้หญิงและผู้ชายสวมคลุมทับด้วยเสื้อคลุมยาวเรียกว่า ตุรุมากิ ปัจจุบันนี้ชาว เกาหลี นิยมสวมชุดแต่งกายประจำชาติในงานเทศกาล หรือในงานพิธีต่างๆ เช่นพิธีแต่งงาน พิธีศพ

กิมจิ และ บุลโกกิ  :  อาหารเพื่อสุขภาพ
          บุลโกกิ แปลตามศัพท์หมายความว่า เนื้อย่าง เป็นอาหารที่นิยมรับประทานในหมู่ชาว เกาหลี ในขณะที่กิมจิซึ่งเป็นผักดองรสจัดชนิดหนึ่ง ใช้รับประทานกับบุลโกกิมีรสไม่จัด ทำจากเนื้อสัตว์ได้หลายชนิด ที่นิยมมากที่สุดคือเนื้อวัวและเนื้อหมู
          เครื่องปรุงมีส่วนสำคัญที่ทำให้บุลโกกิและกิมจิมีรสชาติตามต้นตำรับ กิมจิ ทำจากผักได้หลายชนิด ที่นิยมได้แก่ผักกาดและหัวผักกาด วิธีการทำ นำผักมาดองในน้ำเกลือแล้วเทน้ำเกลือออกให้ผักแห้งพอหมาด แล้วคลุกด้วยเครื่องปรุง กิมจิเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง มีคอเลสตอรอลต่ำ และยังมีเส้นใยอาหาร รวมทั้งมีวิตามินมากกว่าแอปเปิล จึงมีมีผู้กล่าวว่า กินกิมจิวันละนิดหน่อย ไม่ต้องคอยไปหาหมอ"
 ฮันกึล  :  อักษร เกาหลี
          ตัวอักษร เกาหลี ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 15 โดยพระเจ้าเซจองแห่งราชวงศ์โชซอน ประกอบด้วยพยัญชนะ 14ตัว และสระ 10 ตัว การผสมกันระหว่างสระและพยัญชนะทำให้สามารถสร้างคำได้นับพันคำ เพราะตัวอักษรฮันกึลไม่มีความสลับซับซ้อนและมีจำนวนไม่มาก ภาษาเกาหลีสามารถเรียนรู้ได้ง่าย ปัญหาการไม่รู้หนังสือจึงหมดไปจาก เกาหลี
 จองเมียว เชอแยก  :  ดนตรีจองเมียวในพิธีสักการะบรรพบุรุษ
          ในวันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ลูกหลานของตระกูลชอนจู ยี ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์กษัตริย์โชซอน (1392  1910) จะประกอบพิธีสักการะบรรพบุรุษที่ศาลเจ้าจองเมียว ใน กรุงโซล
          แม้ว่าพิธีนี้จะกระทำโดยย่อแล้วก็ตามยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีดังกล่าวนี้ทั้งหมด 19 ชนิด ซึ่งประกอบด้วยระฆังหิน กระดิ่งทองเหลือง และกลองชนิดต่างๆ เครื่องดนตรีเหล่านี้ใช้บรรเลงบทเพลงประกอบพิธีกรรมดังกล่าวโดยเฉพาะ
 หน้ากากและการแสดงระบำหน้ากาก
          หน้ากากภาษา เกาหลี เรียกว่า ทัล ซึ่งทำจากกระดาษ ไม้ ผลน้ำเต้าและขนสัตว์ หน้ากากเหล่านี้จะสะท้อนถึงโครงสร้างหน้าตาของคน เกาหลี แต่หน้ากากบาง X ยถึงเทพเจ้ากับอมนุษย์ ความจริงกับมโนภาพลักษณะของหน้ากากนั้นมีรูปร่างที่ผิดธรรมชาติไปมากเพราะว่า ทัลชุม เป็นการแสดงระบำหน้ากากแสดงตอนกลางคืนโดยใช้แสงสว่างจากกองไฟ
          ระบำหน้ากากเป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ได้พัฒนาโดยชาวบ้านที่มีเชื้อสายโชซอน ที่มีความรู้สึกถึงความขัดแย้งในการปกครองจากชนชั้นสูงในสังคมส่วนใหญ่แล้วผู้แสดงและผู้ชมมักมีส่วนร่วมในตอนท้ายของการแสดง
 โสมเกาหลี
          โสมเป็นพืชที่นิยมปลูกกันทั่วไปในเกาหลี ซึ่งมีภูมิอากาศและสภาพดินดีเหมาะกับการปลูกโสมที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก โสมเกาหลีมีชื่อเรียกเฉพาะว่า โสมกอริโย (GORYEO GINSENG) ซึ่งตั้งตามชื่อของราชวงศ์กอริโยโบราณ เพื่อให้ต่างจากโสมที่นำไปปลูกตามที่ต่างๆทั่วโลก และชื่อประเทศเกาหลีที่เป็นภาษาอังกฤษว่า KOREA ก็ได้มาจากชื่อนี้
          โสมรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือเป็นยาเจริญอาหาร เชื่อกันว่าโสมทำให้กล้ามเนื้อต่างๆ และร่างกายแข็งแรง ช่วยกระตุ้นหัวใจ ป้องกันโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร เป็นยาชูกำลังและช่วยระงับประสาท โสมเป็นตัวยาสำคัญสำหรับการแพทย์แผนโบราณทางตะวันออก แต่ชาวเกาหลีนิยมดื่มโสม เช่นเดียวกับการดื่มชาหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
 วัดบุลกุกซา และถ้ำซอกกุรัม
          วัดบุลกุกซาเป็นวัดใหญ่และสวยที่สุดในเกาหลี ตั้งอยู่ที่เกียงจู เมืองหลวงของอาณาจักชิลลา (57 ปีก่อนคริสต์ศักราช ค.ศ. 935) วัดบุลกุกซา ก่อสร้างโดยกษัตริย์บิวเพิง (ครองราชย์ 514  540) เป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์ชิลลา ที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ทรงสวดมนต์ภาวนาขอให้อาณาจักรของพระองค์มีความอุดมสมบูรณ์และความสงบร่มรื่น
          โครงสร้างของวัดที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างขึ้นใหม่ทดแทนของเก่าเมื่อ 751 มาแล้ว แต่เดิมนั้นวัดนี้มีอาคาร 86 หลัง ซึ่งมากกว่าในปัจจุบันถึง 10 เท่า บนภูเขาด้านหลังวัด มีถ้ำหินที่มนุษย์สร้างขึ้นเรียกว่าถ้ำซอกกุรัมถือว่าเป็นถ้ำที่สวยที่สุดถ้ำหนึ่งในโลก
          ถ้ำซอกกุรัม ประกอบด้วยห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าสำหรับนั่งพัก ภายในมีห้องโถงกลม มีโดมอยู่ตรงกลาง และถัดไปเป็นทางผ่านรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า องค์การ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนให้วัดบุลกุกซา และถ้ำซอกกุรัม เป็นมรดกโลกเมื่อปี 1995
 ภูเขาซอรักซัน
          เกาหลีมีภูเขาที่สวยงามสองลูก ลูกหนึ่งอยู่ทางใต้ ชื่อภูเขาซอรักซัน อีกลูกหนึ่งอยู่ทางเหนือ ชื่อ ภูเขากึมกังซัน ซอรักซันเป็นเทือกเขาทางใต้สุดยาวเป็นแนวเดียวกันกับกึมกังซัน หรือภูเขาเพชร ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ
          ป่าบนภูเขาซอรักซันซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,708 เมตร เป็นป่าที่มีพันธุ์ไม้ใบหลายชนิด และต้นสนนานาชนิด พันธุ์ไม้บนยอดเขานี้มีประมาณ 939 สายพันธุ์ มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 25 สายพันธุ์ นก 90 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 11 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 9 ชนิด แมลง 360 ชนิด และสัตว์น้ำ 40 ชนิด
  
 ศิลปินชาวเกาหลี
          ชาวเกาหลีเป็นผู้ที่มักจะแสดงออกถึงความสามารถทางด้านดนตรีและศิลปะ นักไวโอลินชื่อ ซาราห์ ชาง ได้บันทึกแผ่นเสียงการบรรเลงไวโอลินชุดแรกของเธอเมื่ออายุ 9 ขวบ นอกจากนี้ยังมีนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงคือ ชุงคยองฮวา ซึ่งเป็นนักไวโอลินที่มีชื่อเสียงและมีความสารรถมากมาตลอด 25ปีที่ผ่านมา
          โจซูมิ เป็นนักร้องเสียงโซปราโน ซึ่งวาทยการ เฮอร์เบิร์ด วอน คาราจัน ได้ยกย่องเธอว่าเป็นนักร้อง เสียงพระเจ้าประทาน"
          อาจจะเป็นที่น่าประหลาดใจว่า แบกนัมชุน ชาวเกาหลีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งศิลปะวีดิทัศน์ นั้นเคยเป็นนักดนตรีและนักแต่งเพลงมาก่อน
          ในปี 1963 แบกนัมชุน เป็นคนแรกที่นำเสนอผลงาน พรีแพริด โดยใช้โทรทัศน์เป็นสื่อ หลังจากนั้นผลงานของเขามีอิทธิพลต่องานศิลปะร่วมสมัย ซึ่งเชื่อมโยงวีดีโอและโทรทัศน์กับโลกของศิลปะ สื่อ เทคโนโลยี วัฒนธรรมสมัยใหม่และศิลปะประเภท อะวอง การ์ด

 มรดกทางการพิมพ์
          การพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ของเกาหลีเริ่มเมื่อศตวรรษที่ 8 ตัวพิมพ์โลหะชิ้นแรกของโลก พัฒนาโดยชาวเกาหลีก่อนกูเดนเบิร์ก ของเยอรมนีกว่า 200 ปี
          ชาวเกาหลีสมัยราชวงศ์กอริโย (918  1392) ได้สร้างพระไตรปิฏกฉบับเกาหลีขึ้นในศตวรรษที่ 13 ซึ่งถือว่าเป็นพระคัมภีร์แม่พิมพ์ไม้เก่าแก่ที่สุดในโลก และองค์การ UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี1995

เครื่องดนตรีตามประเพณีเกาหลี
          เครื่องดนตรีตามประเพณีเกาหลีมีประมาณ 60 ชนิด ที่ได้มีการสืบทอดกันจนถึงปัจจุบันเครื่องดนตรีเหล่านั้น มีทั้งพิณ 12 สาย เรียกว่า กายากึม และพิณ 6 สาย เรียกว่า กิวมันโก พิณทั้งสองชนิดนี้เชื่อว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 6
          เครื่องดนตรีเกาหลีแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องสาย เครื่องเป่า และเครื่องตี คิมดุกซู ซามัลนอริ วงดนตรีประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีสี่ชิ้นที่มีชื่อเสียงมากทั้งในเกาหลีและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างบทเพลงเก่าและบทประพันธ์ใหม่ๆ ทำให้เกิดเป็นผลงานทางดนตรีในมิติใหม่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
 ดันชอง  :  รูปแบบการตกแต่งอาคาร
          ดันชอง หมายถึง การตกแต่งอาคารและสิ่งของอื่นๆ ด้วยสีต่างๆ ตามสไตล์เกาหลีแสดงถึงความสวยงามและความมีสง่า ภูมิฐาน
          ดันชองใช้สี 5 สี คือ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีดำ และสีขาว นอกจากนี้ดันชองจะประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้มีความสวยงามแล้วและยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกคือ เป็นการรักษาพื้นผนังของอาคารและปกปิดวัสดุที่นำมาก่อสร้างบางอย่างที่ดูไม่งามตาไม่สวยงาม ในขณะเดียวกันก็ทำให้อาคารดังกล่าวโดดเด่นมีความสง่างามยิ่งขึ้น ส่วนใหญ่แล้วดันชองใช้กับอาคารสถาปัตยกรรม รวมทั้งวัดวาอารามทั้งในกรุงโซลและภูมิภาคต่างๆ ของเกาหลี
 รูปแบบลวดลาย
          รูปแบบลวดลายต่างๆ นั้นมีที่มาจากรูปภาพแสดงความหมายต่างๆในสมัยก่อน โดยที่รูปแบบลวดลายเหล่านั้นเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความต้องการที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ อารมณ์ ความรู้สึกต่อสิ่งที่อยุ่รอบตัวแล้วพัฒนามาเป็นรูปแบบของศิลปะการตกแต่ง
          ในบรรดารูปแบบลวดลายต่างๆ ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของเกาหลี คือมังกร และนกฟินิกซ์ และ แทกึกสัญลักษณ์นี้ใช้ในธงชาติเกาหลีหมายถึงสิ่งที่แตกต่างหรือตรงข้ามกัน 2 อย่างระหว่า อึม กับ หยาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความสงบเยือกเย็นกับการเคลื่อนไหว ความอ่อนแอดกับความแข็งแรง ความมืดกับความสว่างและเพศชายกับเพศหญิง รูปแบบเหล่านี้ยังเป็นสัญลักษณ์ของความมีชีวิตยืนยาว 10 อย่าง คือ หิน ภูเขา น้ำ เมฆ ต้นสน เต่า กวาง นกกะเรียน เห็นราที่ไม่มีวันตาย และพระอาทิตย์
 ชาซุ  :  การเย็บปักถักร้อย
            การเย็บปักถักร้อย ผ้าและวัสดุตกแต่งประดับประดาต่างๆ เช่น ม่าน นั้นนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังใช้สำหรับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านเรือ เช่น ปลอกหมอน ซองแว่นตา กล่องบุหรี่ ที่ใส่ช้อน ตะเกียบ และแปรง
สามัญชนไม่อนุญาตให้ใช้เสื้อผ้าที่มีการถักทอเป็นลวดลาย ประเภทนี้นอกจากใช้ในพิธีแต่งงาน แต่สำหรับชาซุที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานั้น ใช้ผ้าที่มีการเย็บปักถักร้อย เป็นลวดลายที่แตกต่างจากการใช้เพื่อประดับประดา ผ้าดังกล่าวใช้ตกแต่งวัด พระพุทธรูปด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา

งานฝีมือทำจากกระดาษ
          ชาวเกาหลีมีประเพณีที่เก่าแก่อย่างหนึ่งคือ การประดิษฐ์เครื่องใช้จากกระดาษ ซึ่งชาวเกาหลีนิยมใช้กระดาษที่ผลิตได้ในท้องถิ่นหรือผลิตได้ในพื้นบ้าน มาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ทำเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ถ้วยชามหลายขนาดที่มีฝาปิด ตะกร้า ถุงตาข่าย เหยือกน้ำ และถาดใส่ของ
          นอกจากนี้ยังมีสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษอีกมากมายเช่น กล่องเครื่องเขียน เสื่อ เบาะนั่ง ม่าน แล่ง กระบวย กระติกใส่แป้ง รองเท้า อ่าว และหม้อปัสสาวะ สิ่งประดิษฐ์ส่วนใหญ่จะถูกเคลือบด้วยวัสดุเคลือบผิว เพื่อทำให้ดูดี ทนทานและกันน้ำได้ ส่วนผสมของวัสดุเคลือบผิว ได้แก่ ส่วนผสมของน้ำมะพลับดิบ แป้งเปียกและน้ำมันเพอริลลา

บอจากิ  :  ผ้าห่อของ
          บอจากิเป็นผ้าเย็บขอบสี่เหลี่ยมมีขนาดและสีต่างๆ ซึ่งชาวเกาหลีใช้สำหรับห่อของเก็บของหรือห่อของเพื่อการพกพา
          บอจากิยังมีใช้อยู่บ้างแม้ว่าบอจากิจะใช้ในชีวิตประจำวันและแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของเกาหลี
          บอจากิแสดงถึงภูมิปัญญาของชาวเกาหลีที่ประดิษฐ์โดยแม่บ้าน จากสิ่งของเหลือใช้และเศษผ้าต่างๆ รูปแบบและลวดลายการเย็บปักถักร้อย ทำให้บอจากิ ดูมีเสน่ห์ สวยงาม สามารถพับเก็บได้ขนาดเท่ากับผ้าเช็ดหน้าเท่านั้น

 ภาพวาดพื้นบ้าน
          ภาพวาดพื้นบ้านนั้นเมื่อก่อนเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางกันในหมู่ชาวเกาหลีโดยใช้ตกแต่งบ้านเรือนและเชื่อว่าภาพพิมพ์นี้จะทำให้ชีวิตมีความสุขตลอดไป
          ในขณะที่ชาวเกาหลีชั้นสูงนิยมใช้ภาพพิมพ์ที่เป็นรูปทิวทัศน์ ดอกไม้และนก ภาพวาดนี้มักจะแทรกอารมณ์ขันและความเรียบง่ายของวิถีชีวิตในโลกนี้
          แม้ว่าภาพวาดพื้นบ้านเหล่านี้จะเป็นผลงานของศิลปินพื้นบ้านแต่ผลงานเหล่านี้กลับเป็นที่นิยมของทุกชนชั้นในสังคม ตั้งแต่ระดับเชื้อพระวงศ์ วัดวาอาราม จนถึงชาวบ้านในชนบท ภาพวาดเหล่านั้นมีเอกลักษณ์ องค์ประกอบที่เด่นชัด รวมทั้งลักษณะการใช้แปลงและพู่กัน และการให้สีที่ฉูดฉาด

 ซริ  : ประเพณีตามฤดูกาล
          ประเพณีเซริ ซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา ตรงกับวันที่เป็นการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลโดยยึดถือตามปฏิทินทางจันทรคติ เช่น ในวันขึ้นปีใหม่ ชาวเกาหลีจะทำการสักการะบรรพบุรุษ โดยการเซ่นไหว้ด้วยอาหาร เครื่องดื่มและเครื่องเซ่นต่างๆ หลังจากนั้นมีเซเบ หรือการโค้งคาราวะต่อผู้ที่อาวุโสในครอบครัว สำหรับในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย หรือที่เรียกว่าแดบอรึมนั้น จะมีการทำหุ่นฟางข้าว แล้วโยนลงในแม่น้ำ ซึ่งพิธีนี้ได้สูญหายไปจากหลายพื้นที่ในประเทศแล้ว แต่ประเพณีการกินเจ ยังกระทำอยู่โดยทั่วไป ในวันขึ้น 15 คำ เดือน 8 เป็นวันซูซอก เป็นวันแสดงความขอบคุณโดยลูกหลานจะไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน อาหารพิเศษสำหรับวันนี้มีซองเพียนซึ่งเป็นขนมรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ที่ใส่ งา ถั่ว ลูกเกาลัดหรือผักสดอื่น ๆ

 พีธีเปลี่ยนวัย
          ในเกาหลีนั้น เมื่อชาวเกาหลีเกิดมาจะมีประเพณีต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า กวานฮนอซังเจ ซึ่งรวมถึงประเพณีบรรลุนิติภาวะ ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีงานศพ และประเพณีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประเพณีบรรลุนิติภาวะ เป็นพิธีเรียบง่าย เด็กชายจะไว้ผมยาวและผูกจุก ได้รับกัดหรือหมวก ที่ทำด้วยหางม้า ส่วนเด็กหญิงจะถักผมเปียและทำมวยผม แล้วปักด้วยปิ่นปักผมโลหะ เรียกว่า บินยิว ส่วนประเพณีแต่งงานจัดขึ้นที่บ้านเจ้าสาว และเมื่อแต่งงานแล้วทั้งคู่จะอยู่ที่บ้านเจ้าสาวไปอีก 2-3 วัน แล้วจึงไปอยู่บ้านเจ้าบ่าว
          ประเพณีงานศพ ของชาวเกาหลีเป็นพิธีที่มีขึ้นตอนมากมาย การไว้ทุกข์มักจะกระทำเป็นเวลา 2 ปี และมีระเบียบพิธีสวดมนต์ กราบไหว้ สักการะเป็นระยะตลอด 2 ปี ชาวเกาหลีได้สืบทอดประเพณีการเซ่นไว้บรรพบุรุษแสดงถึงความผูกพันระหว่างผู้ตายและลูกหลาน

สวน
          แนวคิดหลักในการจัดสวน คือ การจัดสวนให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด หรืออาจพูดได้ว่า เป็นธรรมชาติมากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเห็นได้ว่าผลงานที่ออกมาแสดงถึงภูมิปัญญาของชาวเกาหลี
          แหล่งสวนโบราณที่ดีที่สุดมีการอนุรักษ์ไว้ คือ สระอันนับจิที่เกียงจู จังหวัดเกียงซังบุกโด นอกจากนี้ยังมีสวนที่สวยงามหาที่เปรียบมิได้คือ สวนในพระราชวังชังดอกกุง ในกรุงโซล มีเนื้อที่สวน 300,000 ตารางเมตร จากพื้นที่ทั้งหมด405,636 ตารางเมตร ของบริเวณพระราชวัง สวนนี้สร้างขึ้นอย่างพิถีพิถัน ประกอบด้วย ทางเดินและห้องโถงที่สวยงาม มีสระบัว ก้อนหิน สะพานหิน ทางเดิน ลำธารและน้ำพุ กระจัดกระจายอยู่ในป่า ซึ่งการจัดสวนแบบนี้เป็นการจัดสวนลักษณะประจำชาติของเกาหลี

                  จัดทำโดย
นายภาณุพงศ์  ชินอักษร ม.5/6 เลขที่ 5
นางสาวเบญจภรณ์  พิกุลทอง ม.5/6 เลขที่ 25

1 ความคิดเห็น:

  1. ควรมีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาด้วย

    ตอบลบ