วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความเชื่อเรื่องโลกแบน



คนยุคโบราณที่มีชื่อเสียงที่เชื่อว่าโลกแบน เช่น อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาชาวกรีก ผู้ที่มีชีวิตอยู่ประมาณ 440 ปี กคศ. รวมทั้ง ดีโมครีตุส (Democritus) ผู้มีอายุอยู่ในช่วง 460-370 กคศ.  แต่พระคัมภีร์กล่าวไว้ในพระธรรมโยบซึ่งเป็นบุคคลที่มีชีวิตอยู่ในราว 2000 ปี กคศ. ว่าโลกนั้นลอยอยู่เหนือที่ว่างเปล่า นั่นคือลอยอยู่ในอวกาศ ความเชื่อเรื่องโลกแบนสรุปเป็นเพราะศาสนาเพราะถ้าใครที่มีความคิดเห็นที่ขัดกลับศาสนา เขาก็จะถูกศาสนาลงโทษ 



คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (อังกฤษChristopher Columbus), กริสโตบัล โกลอน (สเปนCristóbal Colón), คริสโตโฟรุส โกลุมบุส (ละติน:Christophorus Columbus) หรือ กริสตอโฟโร โกลอมโบ (อิตาลีCristoforo Colombo; เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้า เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัว  ภายใต้การสนับสนุนของราชสำนักสเปน เขาได้เดินเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและทำให้ชาวยุโรปรู้จักทวีปอเมริกาในซีกโลกตะวันตกเป็นผลสำเร็จ การเดินทางทั้งสี่ครั้งและความพยายามที่จะตั้งถิ่นฐานบนเกาะฮิสปันโยลาของโคลัมบัสยังเป็นจุดเริ่มต้นของการล่าอาณานิคมของสเปนและชาติมหาอำนาจอื่น ๆ ในทวีปยุโรปบน "โลกใหม่" อีกด้วย
ในช่วงที่ลัทธิจักรวรรดินิยมและการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างอาณาจักรต่าง ๆ ในยุโรป (ผ่านทางการควบคุมเส้นทางการค้าและการล่าอาณานิคม) กำลังเริ่มขึ้นนั้น โคลัมบัสได้วางแผนการเดินทางไปยังอินเดียตะวันออกโดยเดินเรือมุ่งไปทางตะวันตก ด้วยเขามีความเชื่อว่าโลกมีรูปร่างเป็นทรงกลม ความเชื่อนี้ขัดแย้งกับแนวความเชื่อในยุคนั้นว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบน แต่ปัญหาสำคัญที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง คือ ความเป็นไปได้ของการเดินทางรอบโลก เนื่องมาจากอุปสรรคเรื่องของอาหาร และข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการเดินเรือในสมัยนั้น เช่น การเดินเรือไปติดในบริเวณที่ไม่มีลม








ไม่เพียงเรื่องของสิ่งเร้นลับ แม้แต่ในชีวิตประจำวันเราเองก็ถูกสั่งห้ามมิให้แย้งต่อความเชื่อ ต่อคำสอน คำสั่ง ต่อธรรมเนียมปฏิบัติ ตัวอย่างที่เด่นชัดมากก็อย่างเช่นชะตากรรมของ เมอโซ ตัวละครใน “คนนอก” วรรณกรรมชิ้นเอกของ อัลแบร์ กามูร์ (อ่านเรื่องของเมอโซได้ที่ … “ไอ้ฟัก(กิ้ง)เมอโซ…คำพิพากษาของคนนอก”) หรือถ้าจะเป็นเรื่องที่ใหญ่โตจนสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ก็อย่างเช่นเรื่องของ กาลิเลโอ
ทุกวันนี้เรายอมรับกันโดยดุษฎีว่าโลกเรามีสัณฐานเป็นทรงกลม ก็เพราะเราเห็นด้วยตาชัดๆ ว่าโลกเราหน้าตามันเป็นอย่างไร แต่ในยุคโบราณที่วิทยาการยังไม่ได้ก้าวหน้า ความเชื่อในหลายๆ ด้านเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันผิด เพียงแต่ในขณะนั้นมัยไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ อีกทั้งองค์ความรู้ก็ยังมีอยู่อย่างจำกัด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทั้งโลกจะเชื่อกันว่าโลกเรานี้มันแบน มันแผ่กว้างออกไปสุดลูกหูลูกตา แล้วก็โลกเรานี่แหละที่เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลทั้งมวล
ยุโรปในยุคสมัยโน้นถูกปกครองโดยศาสนจักร แม้จะไม่ได้ปกครองโดยตรงแต่ก็มีอำนาจชี้เป็นชี้ตายให้คุณให้โทษแก่ผู้ใดก็ได้ ในยุคที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ก่อกำเนิดเป็นรูปธรรม ศาสนาไม่ได้เป็นเพียงสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ หากแต่ยังเป็นที่พึ่งทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นผู้ตอบคำถามในข้อสงสัยทั้งหลายทั้งปวง เป็นเหมือนผู้ชี้นำให้มวลชนเดินตามไปในแนวทางเดียวกัน แม้กษัตริย์เองก็ยังไม่อาจขึ้นครองอำนาจได้ หากไม่ได้รับการยอมรับจากศาสนจักร

จัดทำโดย
เยาวลักษณ์ จรัสบุญประชา เลขที่37
อัฉริยาพร เอกวานิช เลขที่38







1 ความคิดเห็น:

  1. ควรมีการแสดงความคิดเห็นในทัศนะของตนเองเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาด้วย

    ตอบลบ