วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

หลักการเปลี่ยนพฤติกรรมของวัยรุ่น

หลักการเปลี่ยนพฤติกรรมในวัยรุ่น
         การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในตัวเด็กที่พ่อแม่ไม่ต้องการ และเพิ่มพฤติกรรมที่ดี เป็นวิธีการที่พ่อแม่ควรเข้าใจหลักการที่สำคัญ
         1. สร้างสัมพันธภาพที่ดี ใกล้ชิดสนิทสนมกันต่อเนื่องสม่ำเสมอ และยาวนาน รู้เขา รู้เรา เข้าใจความคิดความรู้สึกของลูก คาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ว่า รู้จุดเด่น จุดอ่อน ของลูก
         2. สื่อสารสองทาง ชัดเจน เข้าใจตรงกัน รับฟังกันได้มากขึ้น ยอมรับ ประนีประนอมกัน
         3. สร้างขอบเขตที่เหมาะสม เคารพในกติกาที่ช่วยกันสร้างขึ้น และเอาจริงกับสิ่งที่ตกลงกัน ชัดเจนในเรื่องที่ “ วิกฤต” จริงๆ เท่าที่จำเป็น ไม่ควรมีมากนัก เช่น ยาเสพติด หรือเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องเสี่ยงมาก ไม่ควรทดลอง
         4.ให้รางวัลในพฤติกรรมที่ดี ที่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก รางวัลไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของ หรือเงิน อาจให้คำชม การชื่นชมอย่างจริงใจ         
         5.ให้โอกาสให้เด็กได้ทำสิ่งที่ดีบ่อยๆในหลายรูปแบบพยายามส่งเสริมให้ได้ทำจนประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างความภูมิใจในตนเอง ตามความชอบความถนัด
         6.หาพฤติกรรมทดแทน มาแทนที่พฤติกรรมที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เช่น ถ้าไม่ต้องการให้เด็กเล่นเกม ควรจัดเวลาให้เด็กมีกิจกรรมหลากหลาย และพยายามส่งเสริมให้ใช้เวลากับกิจกรรมอื่นที่ชอบ แต่เหมาะสมกว่า เช่น กีฬา ดนตรี ศิลปะ
         7. เป็นแบบอย่างที่ดี มีระเบียบวินัย จัดการกับชีวิตอย่างเหมาะสม มีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง มีการดำเนินชีวิตที่มีการวางแผนการ เป็นไปตามขั้นตอบ อย่างรอบคอบและมีหลักการที่ถูกต้อง เวลาเผชิญปัญหา มีจิตใจสงบมั่นคง และแสวงหาทางออกอย่างถูกต้องเหมาะสม
         8. ส่งเสริมพฤติกรรมและการเรียนรู้ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม สังเกตจุดอ่อน และสร้างทักษะใหม่ที่จะเอาชนะจุดอ่อนเท่าที่จะเป็นไปได้
การเปลี่ยนพฤติกรรมในวัยรุ่นอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น
1. การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้พฤติกรรมบำบัด
      • จัดสิ่งแวดล้อม สร้างบรรยากาศให้เหมาะสม เช่นเวลาเรียน ควรปิดโทรทัศน์ ไม่ควรมีสิ่งรบกวน
      • ใช้สิ่งกระตุ้น ตัวกระตุ้น ที่สร้างแรงจูงใจ เช่นรูปนักกีฬาที่ชื่นชอบ ช่วยกระตุ้นให้ฝึกซ้อมกีฬา ตารางการดูหนังสือ ช่วยกระตุ้นให้อ่านหนังสือ
      • การตั้งเงื่อนไข เช่น จะดูโทรทัศน์ได้เมื่อทำการบ้านเสร็จแล้วเท่านั้น
      • การให้รางวัล เมื่อทำดี มีรางวัล อาจเป็นคำชม สิ่งของ เงิน หรือโอกาสพิเศษ หรือให้รางวัลที่เป็นแต้ม ที่สามารถสะสมมากขึ้นเพื่อแลกเป็นรางวัลที่ใหญ่ขึ้น
      • แก้ไขด้วยการทำซ้ำ เช่น เขียนคำที่ผิดให้ถูกต้องบนกระดาน 100 จบ
      • การดัดพฤติกรรม ค่อยๆฝึกหรือแก้ไขพฤติกรรมทีละน้อย เช่น การสอนให้สวมเสื้อ เริ่มจาก การฝึกใส่กระดุม
      • การใช้แบบอย่างที่ดี คือการทำตนเองให้เป็นแบบอย่าง ต้องมีพื้นความสัมพันธ์ที่ดีก่อน
      • หากิจกรรมที่ดี มาทดแทน หรือเบนความสนใจไปจากกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เล่นกีฬาแทนที่การเล่นเกม
      • ลงโทษ เพื่อให้เกิดความไม่พอใจเมื่อทำความผิด เช่น การตี ตัดรางวัล ตัดโอกาส การใช้ควรระมัดระวัง อาจเกิดผลเสียตามมาได้มาก ต้องมีการตกลงกันล่วงหน้า
      • ถอนพฤติกรรม ลดการลงโทษ/ดุ/ด่า ที่ไม่ได้ผล และยังทำให้พฤติกรรมนั้นยังคงมีอย
2. การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้การให้คำปรึกษา ( Counseling)
         การให้คำปรึกษา คือการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้ ด้วยการใช้เทคนิคต่าง ของการสร้างความสัมพันธ์ การสื่อสาร ความเข้าใจและมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา ประกอบด้วย
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  • สำรวจปัญหาร่วมกัน และเลือกเรื่องที่จะทำงานร่วมกัน
  • ประคับประคองจิตใจให้อารมณ์สงบ
  • การแก้ปัญหา กระตุ้นให้มองหาทางเลือก ข้อดีข้อเสีย ชี้แนะ ช่องทาง ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ
  • ให้ตัดสินใจด้วยตนเอง
  • การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง และติดตามผล
  • การยุติการช่วยเหลือ
3. การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวบำบัด
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว
  • แสวงหาข้อมูลจากครอบครัว
  • วิเคราะห์ครอบครัว ปัญหาของครอบครัว จุดอ่อน จุดแข็ง หน้าที่ของครอบครัว บทบาท การสื่อสาร การเข้าใจความรู้สึก
  • ชักจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในโครงสร้าง และหน้าที่ของสมาชิกครอบครัว
  • ชี้แนะช่องทางของการเปลี่ยนแปลง
  • ฝึกทักษะที่เป็นปัญหา
  • ใช้หลักพฤติกรรมบำบัด ร่วมด้วยเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
4. การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้เพื่อน
    • สร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันแบบกลุ่ม ไม่โดดเดี่ยว ไม่เอาตัวรอดคนเดียว เพื่อนมีหน้าที่ช่วยเหลือกัน
    • สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นห่วงเป็นใยกัน เมื่อมีใครหายไปเพื่อนควรสนใจ เป็นห่วงเป็นใย ติดตามข่าวสาร พยายามดึงเพื่อนเข้ากลุ่ม มีการแบ่งปันกัน ช่วยเหลือกัน
    • เมื่อมีเพื่อนทำผิด เพื่อนที่ดีควรช่วยเตือน และชักจูงให้เปลี่ยนแปลง เลิกทำผิด กลับมาทำดี โดยไม่โกรธกัน มองกันในทางที่ดี
    • ฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี บอกความคิด ความต้องการ ความรู้สึก เมื่อไม่พอใจมีวิธีบอกให้เพื่อนเข้าใจ และสนองความต้องการกันได้ตรงจุด
         ฝึกทักษะสังคมทางบวก การให้ การรับ การขอโทษ การขอบคุณ การเข้าคิว รอคอย การทำดีต่อกัน การพูดดีๆ สุภาพ อ่อนโยน ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อกัน

จัดทำโดย
นาย กษิเดช แก้วผลึก ม.5/6 เลขที่ 12
นาย กิตติพัฒน์ ปาอาภรณ์ ม.5/6 เลขที่ 33

2 ความคิดเห็น: